นายกสมาคมนักประดิษฐ์ แนะรัฐบาลรีบช่วยเหลือ SME ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ก่อนฟุบ เพราะสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ที่กลับมาระบาดรอบสอง

เมื่อวันที่ 4 พ.ย.63 นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึง แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด - 19 ว่า ที่ผ่านมารัฐช่วยเหลือ ด้านปัจจัยสี่ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการช้อปดีมีคืน และโครงการอื่นๆ แต่ไม่ตรงเป้าหมาย เพราะสินค้าส่วนมากบางรายนำเข้ามาจากประเทศจีนและเพื่อนบ้านแต่ก็ถือว่าช่วยเหลือประชาชน แต่เงินไม่ได้กระจายไปสู่มือพี่น้องประชาชนจริงๆ และโครงการมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของแบงก์ชาติ ไม่ได้ผล เพราะธนาคารภาคเอกชนไม่เล่นด้วย และที่หนักไปกว่า คือ มาตรการชะลอการชำระหนี้ ขอพักชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) ได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยลูกค้าแจ้งความประสงค์มายังช่องทางของธนาคารพาณิชย์ ขณะนี้ถึงเวลาเก็บครั้งเดียว และขณะนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอี จะต้องจ่ายครั้งเดียว และขาดสภาพคล่อง บางรายที่ขอเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ อ้างสารพัด เพื่อจะไม่ปล่อยกู้ ซึ่งอาจถึงเวลาสิ้นสุด ของ ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย หากรัฐไม่ช่วยเหลือ จึงแนะให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คือ

1.โอนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดมายังธนาคารของรัฐและให้ปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็นของคนไทย 2. บังคับให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยที่จดทะเบียนผลิตภัณฑ์กับสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สมอ. บังคับให้หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่สั่งซื้อจากสินค้าที่จดทะเบียนผลิตภัณฑ์กับสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สมอ. ทุกหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจด้วย และข้าราชการคนใดไม่ส่งเสริมให้มีความผิด 157 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ต้องฉีดยาแรง เพราะเศรษฐกิจป่วยหนักจริงๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตในประเทศไทยเดินหน้าต่อและมีผลต่อเศรษฐกิจไทย เมื่อกระบวนการผลิต การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ระบบการเงินจะไหลถึงปากท้องประชาชนได้จริงๆ

...


ภณวัชร์นันท์ กล่าวด้วยว่า ส่วนภาค SME ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ควรส่งเสริมใช้นโยบาย loan-to-value (LTV) มาตรการเพื่อลดระดับการส่งผลกระทบย้อนกลับกัน (feedback effect) ระหว่างวัฏจักรการเงิน (financial cycle) และวัฏจักรเศรษฐกิจ (economic cycle) เป็นการดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตาม time dimension จากลักษณะ pro-cyclicality ระหว่างระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ ขณะที่ช่วงเศรษฐกิจขาลง มาตรการเพื่อลดผลกระทบจากความเชื่อมโยง (interconnectedness) ระหว่างสถาบันการเงินมาตรการเพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบ (risk amplification) ในระบบการเงิน

โดยให้รัฐโอนการผ่อนชำระมายังธนาคารของรัฐ และให้ฟรีการผ่อนชำระไป 6 เดือน ช่วงเวลาที่มีผลบังคับใช้ (timing factor) เพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน และเพื่อให้ประชาชนที่ผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดฯที่พักอาศัย ได้มีโอกาส มีเวลา ตั้งหลัก และยืดสัญญาการผ่อนไปอีก 6 เดือนไม่คิดดอกเบี้ย ยังคงเงินต้นไว้ และเสริมมาตรการให้ ต่างชาติที่ผ่านการคัดกรองไม่เป็นโควิด-19 สามารถได้รับ วีซ่า VIP อยู่ในประเทศไทยได้ 5 ปี แต่มีข้อแม้ต้องซื้อบ้านซื้อคอนโดฯ มาพักอาศัยในประเทศไทย และมีเงินมาทำธุรกิจในไทย และสินเชื่อซื้อบ้านคอนโดฯทั้งหมด ให้ธนาคารของรัฐโอนมายังธนาคารของรัฐ เพราะธนาคารเอกชนเห็นแก่ได้ไม่สนใจลูกค้าจริงๆ จังๆ ปล่อยให้ตายและยึดขายทอดตลาด ทำให้คดีเต็มศาล

เมื่อรัฐทำจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจกระจายไปถูกภาคที่เกี่ยวกับหิน-ดิน-ทราย ไม้ ท่อ เหล็ก สี คอนกรีตผสมเสร็จ ปูน อิฐขาว อิฐก่อ อิฐโปร่ง อิฐประดับ กระเบื้องดินเผา กระเบื้องเคลือบ อิฐก่อโชว์ อิฐก่อสร้างทุกชนิด เศรษฐกิจจะเริ่มขับเคลื่อน จะเกิดไทยทำไทยใช้ ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์จริงๆ

"หากรัฐไม่ทำทันทีและปล่อยไว้ รับรองได้ว่า SME ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทย ฟุบตาย แน่นอน ฟื้นไม่มี อีก 6 เดือนข้างหน้า คนไทยกว่า 60 ล้านคน กิจการอีกสิบๆ ล้านแห่ง คนงานอีก 6-7 ล้านคน กำลังจะตกงาน และ ครม.เศรษฐกิจ จะต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้านเศรษฐกิจทันที" นายภณวัชร์นันท์กล่าว