วิกฤติโควิด ทำพฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนไป อยู่กับบ้านมากขึ้น และหันมาดูแลสุขภาพ ไม่มั่นใจการบริหารจัดการของรัฐบาล จะคุมการแพร่ระบาดได้

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศทางออนไลน์ จำนวน 3,183 คน กรณีพฤติกรรมของคนไทยในภาวะวิกฤติ โควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้คนไทยและประเทศไทยต้องได้รับบทเรียนและผลกระทบอย่างมาก โดยพบว่า พฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงในระดับ “มากขึ้น” คือ อยู่กับบ้าน 89.60% การดูแลสุขภาพ 85.30% การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ 62.77% ทำงานที่บ้าน 61.42% ดื่มน้ำ 60.07% และใช้โทรศัพท์ (คุย/เล่นโซเชียล) 59.16%

ส่วนพฤติกรรมของคนไทยที่ยัง “เหมือนเดิม” คือ รับประทานยา 47.97% การออกกำลังกาย 47.44% และเล่นเกม/เล่นคอมพิวเตอร์ 35.88% ขณะที่พฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงในระดับ “น้อยลง” คือ ทำงานที่ออฟฟิศ 42.26% และพฤติกรรมที่ “ไม่ได้ทำ” ในช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 คือ สังสรรค์กับเพื่อนฝูง 56.49% และเที่ยวนอกบ้าน 54.38%

...

สำหรับความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม ต่อการดำเนินงานของรัฐบาล พบว่า พอใจมาก 10.15% ค่อนข้างพอใจ 36.73% ไม่ค่อยพอใจ 34.02% และไม่พอใจเลย 19.10%

ขณะที่ความมั่นใจต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาด โควิด-19 พบว่ามั่นใจมาก 7.76% ค่อนข้างมั่นใจ 29.72% ไม่ค่อยมั่นใจ 40.18% และไม่มั่นใจเลย 22.34%.