“คดีอุ้มบุญ” กลับมาเป็นที่กล่าวขานอีกครั้ง ภายหลังจากที่ พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านหรูหลังหนึ่ง เขตลาดพร้าว หลังสืบทราบว่า มีหญิงสาวอาศัยอยู่หลายคน พฤติการณ์น่าสงสัยว่ามีการรับจ้างตั้งครรภ์เพื่อให้คลอดทารก ซึ่งในบ้านพบหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ 7 คน รับจ้างตั้งครรภ์ หรือ “อุ้มบุญ”
ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ย้อนกลับไปในปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่ขบวนการส่งออกทารกไปต่างประเทศ หรือ “อุ้มบุญ” เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วทั้งประเทศ...
ด้วยความที่ชาวต่างชาตินิยมเข้ามาจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยนั้น มีสาเหตุมาจากที่หลายประเทศมีกฎหมายห้ามจ้างอุ้มบุญ และในหลายประเทศค่าจ้างทําอุ้มบุญสูงถึง 1 ล้านบาท แต่การจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยมีราคาถูก ซึ่งตกรายละ 300,000 - 350,000 บาทเท่านั้น
ณ เวลานั้น บริษัทนายหน้าต่างชาติเปิดเผยตัวเลขว่า มีสามีภรรยาชาวจีนมาเลือกเพศบุตรจ้างอุ้มบุญในไทย 200 คู่ต่อปี และบริษัทนายหน้าที่ฮ่องกงเผยตัวเลขปี 2556 ธุรกิจอุ้มบุญทําเงิน รวมประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4,800 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังมีชาวออสเตรเลียมาจ้างอุ้มบุญเลือกเพศในไทยปีละนับร้อยคน จนทําให้มีคลินิกทําเด็กหลอดแก้ว หรืออุ้มบุญในไทย ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด
...
โดยลักษณะการจ้างหญิงไทยตั้งครรภ์แทน พบว่า มีหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของผู้ต้องการมีบุตร ยกตัวอย่างเช่น ชาวจีนนิยมใช้เทคโนโลยีช่วยในการเลือกเพศของลูก, คู่สมรสที่ต้องการมีบุตร, คู่รักเพศเดียวกันที่ต้องการมีบุตร ซึ่งทั้งหมดจะใช้บริการผ่านเอเย่นต์ เพื่อให้ติดต่อหาหญิงไทยรับจ้างตั้งครรภ์ โดยนําน้ําเชื้ออสุจิชายชาวต่างประเทศมาผสมกับรังไข่ของหญิงไทยที่รับจ้างตั้งครรภ์ จากนั้นมีการดูแลจนกระท่ังคลอดและนําเด็กกลับไปประเทศ
ในปี 2557 นับว่า “คดีอุ้มบุญ” เป็นเรื่องเป็นราวฉาวโฉ่อยู่บนหน้าสื่อตลอดระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญๆ ตามไทม์ไลน์ ดังต่อไปนี้
22 ก.ค. 2557 นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา แถลงข่าวเรื่องอุ้มบุญ ที่ชาวจีนนิยมมาจ้างหญิงไทยอุ้มบุญว่า เป็นเรื่องผิดจริยธรรมตามประกาศแพทยสภา เนื่องจาก ประเทศไทยห้ามซื้อขายอวัยวะต่างๆ และจะทําได้เฉพาะกรณีบริจาคด้วยความสมัครใจ และเป็นเครือญาติเท่านั้น
28 ก.ค. 2557 สาววัย 21 ปี ชาวอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นแม่อุ้มบุญรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ต้องเลี้ยง “น้องแกมมี่” เด็กแฝดเพศชายชาวออสเตรเลีย ที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมและโรคหัวใจรั่ว เบื้องต้นตกลงค่าจ้างที่ 3.5 แสนบาท โดยวิธีผสมเทียม ระหว่างเชื้ออสุจิของชายชาวออสเตรเลียกับไข่ของสาวชาวจีนฉีดฝังเข้าไปที่มดลูก
กระทั่งเมื่อเข้าเดือนที่ 3 ก็ตรวจพบว่าลูกเป็นแฝดชายหญิง เอเย่นต์บอกจะให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 5 หมื่นบาท แต่พอเดือนที่ 4 เอาน้ําคร่ำไปตรวจ พบว่า เด็กคนหนึ่ง เป็นดาวน์ซินโดรม กระทั่งเด็กคลอดผู้ว่าจ้างก็เอาเด็กผู้หญิงที่สุขภาพสมบูรณ์ ไปเพียงคนเดียว ทิ้งเด็กชายที่ป่วยไว้ให้เลี้ยงดู โดยที่เอเย่นต์ไม่ยอมจ่ายเงินที่เหลืออีก 7 หมื่นบาท
ข่าวของสาววัย 21 ปี ได้ถูกเผยแพร่ไปท่ัวโลกรวมทั้งในออสเตรเลีย ทําให้ชาว ออสเตรเลียจํานวนมากเกิดความสะเทือนใจร่วมบริจาคเงิน เพื่อช่วยค่าเลี้ยงดูและรักษาพยาบาลน้องแกมมี่ ด้านนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้กล่าวชื่นชมนางภัทรมนที่สู้ชีวิตเลี้ยงดูบุตรที่ป่วย และสั่งการให้ติดตามหาสามีภรรยาชาวออสเตรเลียที่จ้างอุ้มบุญ
...
ต่อมา มีการตรวจสอบประวัติ พบว่าชายที่จ้างอุ้มบุญเคยมีประวัติต้องโทษคดีอนาจารเด็ก โดยชายที่จ้างอุ้มบุญอ้างว่าไม่รู้ว่ามีเด็กแฝดและป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ขณะที่สาววัย 21 ปี ยืนยันว่า ชายชาวออสเตรเลียมารับแฝดหญิงไป แต่ไม่สนใจแฝดชาย
13 ส.ค.2557 ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดย อาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หรือกฎหมายอุ้มบุญ จากนั้นจะส่งให้สภานิติบัญญัติพิจารณาต่อไป
30 ก.ค.2558 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หรือ กฎหมายอุ้มบุญ มีผลบังคับใช้ โดยสาระสําคัญเพื่อคุ้มครองประชาชนที่มีความจําเป็นต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ เพราะมีบุตรยาก รวมถึงเด็กที่จะเกิดขึ้นด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีด้วย โดยกําหนดข้อห้ามสําคัญ ได้แก่ ห้ามสามี และภรรยาที่ให้หญิงอื่นทําอุ้มบุญปฏิเสธรับเด็กเป็นบุตร, ห้ามหญิงรับอุ้มบุญรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า, ห้ามเป็นนายหน้าจัดการ หรือชี้ช้องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน, ห้ามโฆษณาว่า มีหญิงรับตั้งครรภ์แทน และห้ามซื้อ เสนอซื้อ หรือขาย หรือนําเข้า หรือส่งออกอสุจิ ไข่ หรือ ตัวอ่อนโดยสถานประกอบการแพทย์ คู่สามีภรรยา ผู้รับตั้งครรภ์ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากกระทําผิดจะมีโทษทั้งจําและ ปรับ
...
16 ม.ค. 2558 สถานทูตออสเตรเลียโทรศัพท์แจ้งให้แม่อุ้มบุญของ ด.ช.แกมมี่ ทราบว่า รัฐบาลได้อนุมัติสัญชาติออสเตรเลียให้ ด.ช.แกมมี่ แล้ว ซึ่งจะทําให้เข้าถึงระบบรักษาพยาบาลในออสเตรเลีย และมีสิทธิถือพาสปอร์ตออสเตรเลีย
14 เม.ย.2559 ผู้พิพากษาศาลครอบครัว รัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ตัดสินใจให้ฝาแฝดหญิงควรอยู่กับครอบครัวฟาร์เนล ในเมืองบันบิวรี ตามเดิม เพราะเห็นว่า เป็นการไม่เหมาะสมที่จะพรากเด็กไปจากครอบครัวที่เติบโตมา โดยมีเงื่อนไขว่า ครอบครัวต้องไม่ให้เด็กอยู่กับพ่อตามลําพัง ทั้งนี้สืบเนื่องจาก สาววัย 21 ปี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลออสเตรเลียเมื่อปี 2558 เพื่อขอสิทธิรับเลี้ยงดูเด็กหญิงฝาแฝดให้กลับมาอยู่อาศัยในประเทศไทย ด้วยเหตุผลว่าพ่อชาวออสเตรเลียผู้ว่าจ้างเคยต้องคดีละเมิดทางเพศ.