กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ดึงไต้หวันร่วมเวิร์คชอป ส่งต่อความรู้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม รับมือสังคมผู้สูงอายุในปี 2573 พรผลักดันความร่วมมือทางการแพทย์ "ไทย-ไต้หวัน" สาธิตการใช้ "แอปพลิเคชั่น-AI" ในการรักษา พร้อมถ่ายทอดความรู้ปรับสมดุลร่างกายแบบแพทย์แผนจีน
เมื่อวันที่ 22 พ.ย.62 นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ หัวหน้ากรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า อาเซียนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาวะสังคมผู้สูงอายุกลายเป็นปัญหาที่ต้องเผชิญเช่นเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามสถิติขององค์การสหประชาชาติในปี 2573 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้การดูแลระยะยาว การส่งเสริมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ และการรักษาสุขภาพ ฯลฯ กลายเป็นนโยบายสาธารณสุขระดับชาติ ในโอกาสนี้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของประเทศไทย ร่วมกันจัดกิจกรรม "เวิร์คชอปการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในระดับชุมชน สำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย" ซึ่งเป็นความร่วมมือจากโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน ได้ตอบรับนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของรัฐบาลไต้หวัน พร้อมช่วยผลักดันความร่วมมือทางการแพทย์ระหว่างไทยและไต้หวัน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเป็นผู้บรรยาย พร้อมแบ่งปันประสบการณ์การส่งเสริมการดูแลระยะยาว นอกจากนี้ยังมีการแนะนำการใช้เทคนิคทางการแพทย์ในการช่วยรักษาอาการโรคสมองเสื่อมอีกด้วย งานเวิร์คชอปครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 30 ท่าน จากศูนย์ดูแลประจำวันท้องถิ่นของไทย กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่สนใจงานการดูแลระยะยาว
...
โดยในการเวิร์คชอปได้แลกเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการดูแลระยะยาวไต้หวัน รวมถึงรูปแบบการเข้าร่วมนโยบาย พร้อมแบ่งปันประสบการณ์นวัตกรรมการให้บริการจุดดูแลรักษาระยะยาวในชุมชน ไม่เพียงเท่านั้นยังได้แนะนำบทบาทและการใช้แพทย์แผนจีน ในการดูแลรักษาระยะยาวด้วย ส่วนวันที่ 2 หัวข้อจะเน้นไปที่การปฏิบัติงานจริง และการประยุกต์ใช้บริการดูแลระยะยาวในหลายด้านเป็นหลัก รวมถึงตารางประเมินโรคสมองเสื่อม ที่ใช้ประเมินอาการโรคในตอนแรก การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (เช่น แอปพลิเคชัน อุปกรณ์จับสัมผัส AI) ในส่วนของแพทย์แผนจีนก็มีการแนะนำไทเก๊กแบบนั่งปรับสมดุลตามแพทย์แผนจีน การกดจุดลมปราณแบบนั่งแปดกระบวนท่า นอกจากนี้ระหว่างกิจกรรมในห้องเรียนทั้ง 2 วัน วิทยากรก็ได้ให้นักเรียนสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ปฏิสัมพันธ์ต่างๆ เช่น เครื่องฝึกการรับรู้แสนสนุก SODA ระบบสร้างสุขภาพและการออกกำลังกาย SPOZ ฯลฯ ซึ่งจัดแสดงโดยบริษัทไอเมดเทค
นพ.ขวัญชัย กล่าวอีกว่า ถึงแม้เทียบกับไต้หวันแล้ว การพัฒนานโยบายการดูแลระยะยาว และการรับรู้ถึงวิกฤตที่จะมาถึงของทางรัฐบาลไทยจะล่าช้ากว่า แต่กิจกรรมเวิร์คชอปในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตอนกลางวันได้เรียนรู้ประสบการณ์จากไต้หวัน ในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเรามีปณิธานมุ่งมั่นมากขึ้น ควรค่าที่ทางรัฐบาลจะกำหนดกฎหมายออกมา
นอกจากนี้ โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ อีกทั้งทางโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน ยังได้ไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันทางการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งในอนาคตได้วางแผนที่จะสร้างหมู่บ้านรักษาสุขภาพ พร้อมหวังว่าในอนาคตไทยและไต้หวัน จะสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือระดับนานาชาติในด้านการรักษาด้วยระบบอัจฉริยะ การบริการดูแลระยะยาว ฯลฯ ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นอีกด้วย