"มหาวิทยาลัยมหิดล" จัดเสวนาพิเศษ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย เชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมตามนโยบาย "One belt One Road" ของจีน เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน...

วันที่ 28 พ.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาและปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสงานรำลึกถึง "รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์" ผู้ก่อตั้งและอดีตคณบดีที่วางรากฐานการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ให้สังคมไทยตลอดเวลา 45 ปี ที่ผ่านมา

สำหรับ การเสวนาพิเศษในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "EEC, Geo-Politic for Belt & Road" หรือ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกภูมิรัฐศาสตร์แห่งเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 นำโดย เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทยให้เชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมตามนโยบาย "One belt One Road" ของประเทศจีน

ทั้งนี้ นำโดย ดร.วิษณุ ตัณฑสิรุฬห์ กรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ภาครัฐ กล่าวถึง มิติด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ว่า สำหรับการผลักดันให้กลุ่ม Start Up เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ภาครัฐหรือมหาวิทยาลัย ต้องมีบทบาทสนับสนุนให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

...

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ตัวแทนมิติเศรษฐศาสตร์ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศ ซึ่งต้องมีนโยบายปกป้องผลประโยชน์ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการภายในประเทศบนพื้นฐานการแข่งขันทางการค้าอย่างเท่าเทียมกัน

ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช.
ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช.

รองศาสตราจารย์ นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึง มิติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งเงินทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งหน่วยงานภายในประเทศต้องเตรียมนโยบายและบุคลากรรองรับให้เพียงพอ

ขณะที่ คุณสุภิญญา กลางณรงค์ นักวิชาการอิสระ อดีตกรรมการ กสทช. กล่าวถึง มิติภาคประชาสังคม ที่มีนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคที่อาจได้รับผลกระทบ จากการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าและบริการจำนวนมหาศาล รวมทั้งปกป้องพื้นที่เปราะบางและฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนี้ ยังมีการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "กฎหมายสิ่งแวดล้อมและอนาคตประเทศไทย" โดย อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอดีตประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึง การพัฒนาเครื่องมือ กลไก ระบบยุติธรรม ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป.

...