มาทำความรู้จักพายุรุนแรงแห่งปี พายุมังคุด ฟังดูเหมือนกับผลไม้ไทยๆ ที่พัดถล่มราบมาแล้วตั้งแต่ฟิลิปปินส์ มาเก๊า ฮ่องกง เข้าสู่จีน ชื่อพายุนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากอิทธิพลขอพายุมังคุด พายุไต้ฝุ่นขนาดรุนแรงในรอบหลายๆ ปี ซึ่งเคลื่อนตัวผ่านหลายเมือง ไล่เรียงมาตั้งแต่ฟิลิปปินส์ มาเก๊า ฮ่องกง ล่าสุด ขึ้นฝั่งประเทศจีนพร้อมกับความสูญเสียทั้งสิ่งปลูกสร้างและชีวิตของประชาชนตามแนวพายุผ่าน ไม่นับรวมหางเลขในประเทศไทยส่งผลให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่ระยะนี้
อีกมุมหนึ่งนอกจากความรุนแรงและความเสียหายจากพายุแล้ว หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ชื่อพายุมังคุดนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร
ทั้งนี้ ตามข้อมูของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ชื่อพายุมังคุดนี้ เสนอโดยประเทศไทย ตามตารางความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ Column I ชื่อในภาษาอังกฤษ คือ MANGKHUT ความหมายคือ ชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม นอกจากมังคุดแล้ว ยังมีชื่อพายุตามตารางอีกมากมาย เช่น ไคตั๊ก ยางิ เซบี จ่ามี มาเรีย และ แคมี เป็นต้น
สำหรับชื่อพายุต่างๆ ดังตัวอย่าง ที่เรียกกันในประเทศไทยและแถบภูมิภาคนี้ มีที่มาที่ไป ดังนี้
1. ไทยและอีก 13 ประเทศ พร้อมเขตปกครองพิเศษ รวม 14 สมาชิก ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ซึ่งรับอิทธิพลของพายุ ร่วมกันเสนอบัญชีรายชื่อ ประเทศและเขตปกครองพิเศษละ 10 ชื่อ รวมเอาไว้ทั้งหมด 5 ชุด
2. 14 ประเทศและเขตปกครองพิเศษดังกล่าว ประกอบด้วย 1. ไทย 2. กัมพูชา 3.ลาว 4. มาเลเซีย 5. ฟิลิปปินส์ 6. เวียดนาม 7. มาเก๊า 8. ฮ่องกง 9. จีน 10. เกาหลีเหนือ 11. เกาหลีใต้ 12. ญี่ปุ่น 13. ฮ่องกง และ 14. จีน
...
3. การเสนอชื่อพายุจะมีชื่อทางการ ความหมาย รวมทั้งประเทศและเขตปกครองพิเศษที่มาของชื่อ
4. เมื่อได้ชื่อพายุรวม 140 ชื่อ จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ชุด ชุดละ 28 ชื่อ จัดลำดับไล่เรียงไปตามลำดับประเทศ เขตปกครองพิเศษและดินแดน ซึ่งเสนอมาตามอักษรโรมัน
5. เมื่อพายุมีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางถึงเกณฑ์กำหนดจึงจะถูกนำชื่อมาตั้ง ไล่เรียงไปตามลำดับชื่อในตารางหมุนเวียนกัน
6. รายชื่อพายุที่มีการใช้กันในปัจจุบัน แก้ไขปรับปรุงในการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 49 ณ นครโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2560.
หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลและภาพตารางพายุ จากกรมอุตุนิยมวิทยา