"ความเชื่อ คือความหวัง" และความเชื่อ ก็เป็นเหมือนบทบาทเริ่มแรก นำสู่ความสำเร็จที่อาจจะขึ้นขึ้นได้ในภายภาคหน้า และสำหรับ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยึดเหนี่ยวจิตใจ" ที่อยู่คู่กับชาวไทยพุธมาแต่โบราณกาล ว่ากันว่า ไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม จะส่งผลให้สภาพจิตใจเข้มแข็งพร้อมรับกับแรงเสียดทานในชีวิต ... แต่ถ้าหากใครมีเรื่อกังวลใจ หรือหวังไว้ว่าต้องสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี "การบนบานศาลกล่าว" ก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่จะเสริมแรงหนุนให้ประสบผลสำเร็จ 

และสำหรับชาว "จังหวัดเชียงราย" มีความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่นว่า 2 สถานที่ศักดิ์สิทธ์ประจำจังหวัด ที่ชาวบ้านเชื่อว่าคอยปกป้องคุ้มครอง นำพารอดพ้นจากวิกฤติในชีวิต ขออะไรก็สมดั่งใจหวัง เฉกเช่นเหตุการณ์ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เพิ่งช่วย 13 ชีวิต ให้ออกมาจากถ้ำได้สดๆ ร้อนๆ ก็เป็นเพราะพระบารมีของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ภายหลังผู้ปกครองพากันไปบนบานศาลกล่าว  

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

“พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ. 1782-1860 ทรงสร้าง เมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนา อาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย”

อนุสาวรีย์พญาเม็งรายตั้งอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงคนในจังหวัด เชียงรายล้วนเคารพนับถือและมักจะมาสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างขึ้นโดยประชาชนชาวเชียงราย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งราย ลักษณะของอนุสาวรีย์เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร 

...

ชาวบ้านเมืองเชียงราย โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา มักจะไปบนบานศาลกล่าว ณ ที่แห่งนี้ หากสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก็จะเอาไข่ต้ม (แล้วแต่จำนวนที่บนไว้) และไก่ต้มคู่ (2 ตัว) รวมไปถึงเหล้าขาว หรือชาวบ้านเรียกติดปากกันว่า "เหล้าไหไก่คู่" ไปถวาย นักเรียนนักศึกษาบอกกับเราว่า หากอยากจะสอบได้ สอบติดมหาลัย หรือก่อนจะไปแข่งขันในด้านใดก็ตาม เมื่อเดินทางมาบนบานที่นี่ มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป  

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง

ตามสำเนียงคนเชียงราย เรียกกันว่า "วัดพระธาตุดอยตอง"  เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย สันนิษฐานว่าสร้างก่อนที่พญามังรายมหาราชจะเสด็จมาพบพื้นที่บริเวณนี้ และโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 โดยตามประวัติที่มีการกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยจอมทองระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเรือนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยปัจจุบัน) พ.ศ. 1483

"เหล้าไหไก่คู่" เป็นของบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภาคเหนือ ชาวจังหวัดเชียงราย เมื่อต้องการจะขอพร หรือบนบานสิ่งใด ก็มันจะใช้สิ่งเหล่านี้แก้บนเหมือนๆ กัน และสำหรับ "วัดพระธาตุดอยตอง" นักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ มักจะเดินทางมาเพื่อบนบานในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ การงาน รวมไปถึงขอให้ผ่านพ้นอุปสรรคทั้งปวง และเมื่อสิ่งที่บนบานสมหวัง ก็จะเดินทางกลับมาแก้บนอีกครั้งหนึ่ง 

สำหรับวัดเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองที่นักท่องเที่ยวต้องไปเยือนเพื่อเป็นสิริมงคลชีวิต ณ จังหวัด เชียงราย มีด้วยกัน 3 วัด ว่ากันว่าหากได้ไปสักการบูชา จะมีแต่ความโชคดี ทำอะไรก็ประสบผลสำเร็จ 

1.วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เองที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้า สามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา

...

2.วัดงำเมือง 

เป็นวัดที่เก่าแก่ที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งของกู่พญามังราย(สถูปพญามังราย) ตั้งอยุ่ถนนอาจอำนวย บ้านฮ่อมดอย (ชุมชนราชเดชดำรง) หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (อยู่ด้านหลังวัดพระแก้ว) วัดงำเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ.1860 วัดงำเมืองเดิมมีแต่ สถูป (กู่) บรรจุพระอัฐิของพญามังรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงครามโอรสพญามังรายมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ 19 หลังจากที่พญามังรายได้สวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.1860

พญาไชยสงครามพระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพพญามังรายมหาราชแล้วพระองค์ทรงไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ ได้กลับมาครองเมืองเชียงรายและอัญเชิญพระอัฐิของพญามังรายมาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมา พ.ศ. 2030 พระยาศรรัชฎาเงินทอง ได้มาบูรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า "วัดงำเมือง" และใน พ.ศ. 2220 ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัด โดยเจ้าฟ้ายอดงำเมืองโอรสเจ้าผู้ครองนครเชียงแสน ต่อมาวัดงำเมืองเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุง


3.วัดมิ่งเมือง

วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง อยู่ใจกลางเมืองเชียงราย พบหลักฐานว่ามีอายุประมาณ 800 ปี ซึ่งยาวนานเท่ากับการสร้างเมืองเชียงรายเลยทีเดียว และมี “พระธาตุมิ่งเมือง” เป็นปูชนียสถานสำคัญ พระธาตุเจดีย์ศิลปะแบบล้านนา ที่ได้รับเคารพสักการะจากชาวเชียงรายเป็นอย่างมาก แต่เดิมเป็นวัดของชาวไทใหญ่ มีอายุเทียบเท่า จังหวัดเชียงราย ซึ่งนิยมเรียกว่า วัดเงี้ยว ส่วนชาวเชียงรายเรียกว่า วัดจ๊างมูบ หรือที่แปลว่า ช้างหมอบ แต่บ้างก็เรียกว่า วัดตะละแม่ศรี ตามชื่อของผู้ที่เชื่อว่าเป็นผู้สร้างวัดนี้ คือ เจ้านางตะละแม่ศรี พระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ธิดาของกษัตริย์พม่าเมืองหงสาวดี

...

เกาะติดข่าวค้นหา 13 ชีวิตติดในถ้ำหลวง