รองประธาน กสทช. รวมเทคโนโลยีพลังงาน ชี้ 3 ปัจจัยสำคัญ เปลี่ยนแปลงโลก

เมื่อวันที่ 13 เม.ย.60 พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงเทคโนโลยีพลังงานที่จะเปลี่ยนโลกในอนาคตอันใกล้ ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานใน 3 ด้าน สำคัญที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันนี้ ได้แก่ :การกักเก็บพลังงาน, โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) และการผลิตกระแสไฟฟ้า การกักเก็บพลังงานมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน อย่างเช่น เรื่องการพัฒนาแบตเตอรี่ให้เป็นเชื้อเพลิงรูปแบบใหม่, โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการรวมของเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกับข้อมูล และกระแสไฟฟ้าที่ทำให้การผลิตฟ้า และการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โดดเด่น คือ เทคโนโลยีที่ผลิตพลังงานจากแหล่งทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาก่อน และยังผลิตกระแสไฟฟ้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cells): เซลล์เชื้อเพลิงต้องใช้เชื้อเพลิงกับออกซิเจนในการทำงานร่วมกัน และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่มีเชื้อเพลิงป้อน ซึ่งจะมาแทนที่ความต้องการการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ

และสำหรับใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือใช้กับรถโดยสารขนาดใหญ่ แบตเตอรี่ลิเทียม-แอร์ (Lithium-air batteries): ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวัสดุทำให้มีความก้าวหน้าของแบตเตอรี่ลิเทียม-แอร์ มีความหนาแน่นพลังงานสูงที่เทียบเท่าพลังงานจากน้ำมันได้เลย และสามารถใช้งานได้นานกว่าแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน แบบเดิมถึง 5 เท่า โดยการใช้ออกซิเจนแทนที่จากอากาศโดยรอบ แทนที่จะเป็นการสร้างออกซิเจนขึ้นภายใน ทำให้แบตเตอรี่อาจสามารถใช้งานกับรถยนต์ไฟฟ้าได้การเก็บพลังงานและการขนส่งด้วยไฮโดรเจน: จากสมมติฐานที่จะทำให้โครงข่ายไฟฟ้าปัจจุบันสามารถจัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจนแทนกระแสไฟฟ้า อาจจะนำมาใช้กับวิธีการแปลงพลังงานในหลายรูปแบบ อันเป็นการลดความสูญเสียและเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บให้สูงขึ้น การกักเก็บความร้อน: ความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือจากโรงไฟฟ้าก็ตามที่ถ่ายโอนมายังภาชนะที่เป็นฉนวนสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ให้ความร้อนในอวกาศ หรือ ให้ความร้อนแก่น้ำ เป็นต้น

...

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid): มิเตอร์ไฟฟ้าที่บันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ real time ในขณะที่สามารถสื่อสารกับหน่วยงานสาธารณูปโภคในการควบคุม มอนิเตอร์ และออกใบแจ้งหนี้ได้ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลในการปรับสมดุลและควบคุมจากระยะไกลได้ เช่น การปิดใช้งานอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเมื่อมีการใช้งานไฟฟ้าสูงสุด เป็นต้น ส่วนระบบผลิตไฟฟ้ากระจายศูนย์ (Distributed Generation): เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานขนาดเล็กหลายๆ แห่ง เช่น ตามอาคาร และบ้านเรือนต่างๆ แทนที่จะผลิตจากศูนย์กลางการผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนได้ โครงข่ายพลังงานอัจฉริยะ: การนำเอาอินเทอร์เน็ต และระบบการสื่อสารต่างๆ เช่น Internet of Things (IoT) มาใช้ในการควบคุมทั้งความร้อน พลังงานและก๊าซธรรมชาติจากระยะไกลได้

พลังงานจากคลื่นน้ำ (Tidal turbines): เป็นรูปแบบของการเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้อยู่จำนวนน้อย แต่ก็ถือว่ามีศักยภาพที่จะมีการเติบโตได้ เครื่องยนต์สเตอริงขนาดเล็ก (Micro stirling engines): เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กที่เปลี่ยนพลังงานเป็นพลังงานกลได้ หุ่นยนต์ปรับตำแหน่งแผงพลังงานแสงอาทิตย์: หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถปรับตำแหน่งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ ให้สอดคล้องกับสภาพอากาศขณะนั้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมเชื้อเพลิงชีวภาพใหม่: เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพใหม่ อย่างเช่น เซลลูโลสิก เอทานอล และไบโอดีเซลจากสาหร่ายเซลล์เดียว ทำให้เกิดแหล่งพลังงานที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ กระจกเซลล์แสงอาทิตย์: กระจกที่มีแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถเปลี่ยนรังสีอินฟราเรดและแสงที่มองเห็นได้ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า หมายความว่าเราสามารถติดตั้งกระจกเหล่านี้บนหลังคา สำหรับผลิตพลังงานมาใช้ได้สำหรับทั้งอาคาร

แผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์อวกาศ (Space-based solar power): เป็นการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ และส่งพลังงานกลับมายังโลกผ่านสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งข้อดีคือระบบนี้สามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าการเก็บบนพื้นโลก ซึ่งในอวกาศ จะไม่มีบรรยากาศหรือเมฆที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้นจึงทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ซึ่งการใช้งานจะพัฒนาจนแพร่หลายอาจต้องใช้เวลาเกือบสองทศวรรษ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก: เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก สามารถขนส่ง และเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งขณะนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 10 เมกะวัตต์ และมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตให้ได้ 50 เมกะวัตต์ในอนาคต พลังงานฟิวชันด้วยเทคนิค Inertial confinement (Inertial confinement fusion (break-even)): ซึ่งวิธีการนี้ใช้การยิงลำแสงเลเซอร์พลังงานสูงเข้าใส่อะตอมไฮโดรเจน ทำให้เกิดความร้อนสูง และเกิดการยุบตัวลงจากภายในอย่างเฉียบพลัน เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ คล้ายแบบภายในดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดพลังงานที่นำไปใช้ได้