ชาวเชียงใหม่ สุดฮือฮา กลุ่มเมฆเหนือท้องฟ้า รูปร่างสีสันงดงามแปลกตา บางก้อนคล้ายฝูงแกะมารวมตัวกัน ไม่เคยเป็นมาก่อน โชเซียลฯ ถ่ายรูปในมุมต่างๆ อวดกัน

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ชาวเชียงใหม่ พากันออกมาชมกลุ่มเมฆที่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อนแปลกตา คล้ายฝูงแกะมาร่วมตัวกัน เหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่ จึงได้พากันบันทึกภาพและนำมาอวดกันในโลกโชเชียลมีเดีย แต่ละคนถ่ายในมุมต่างกันดูงดงาม และวิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆ นาๆ ถึงกลุ่มเมฆประหลาด บางคนที่รู้เรื่องดีก็บอกว่า เป็นกลุ่มเมฆชั้นกลาง (Middle clouds) เกิดขึ้นที่ ระยะห่างตั้งแต่ 2 – 6 กิโลเมตร ได้แก่ เมฆอัลโตคิวมูลัสเป็นเมฆก้อนลอยติดกันคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัสแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ซึ่งท้องฟ้าในฤดูหนาวที่เชียงใหม่ จะสดใสจะเห็นกลุ่มเมฆรวมตัวกันในลักษณะต่างๆ ตามแต่จินตนาการในมุมมอง แต่ในวันนี้ก่อนเมฆแตกเป็นฝอยชนิดไม่เคยเห็นชัดเจนอย่างนี้ จึงทำให้มีการบันทึกภาพอวดกันตามไลน์และเฟสซบุ๊กกัน

นเรื่องนี้ นักอุตุนิยมวิทยา แบ่งเมฆออกเป็น 3 ระดับ คือ เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และเมฆชั้นสูง โดยเมฆชั้นต่ำ อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร มี 5 ชนิด ได้แก่ เมฆสตราตัส เมฆคิวมูลัส เมฆสตราโตคิวมูลัส เมฆนิมโบสตราตัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส นักอุตุนิยมวิทยา ถือว่า เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส เป็นเมฆก่อตัวในแนวดิ่ง ซึ่งมีฐานเมฆอยู่ในระดับเมฆชั้นต่ำ แต่ยอดเมฆอาจอยู่ในระดับของเมฆขั้นกลางและชั้นสูง เมฆชั้นกลาง เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อจะเติมคำว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นกลางเรียกว่า “เมฆอัลโตสตราตัส” เมฆก้อนชั้นกลาง คือ “เมฆอัลโตคิวมูลัส” เมฆชั้นสูง เกิดขึ้นที่ระดับความสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อจะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นสูงเรียกว่า “เมฆเซอโรสตราตัส” เมฆก้อนชั้นสูงเรียกว่า “เมฆเซอโรคิวมูลัส” นอกจากนั้นยังมีเมฆชั้นสูงที่มีรูปร่างเหมือนขนนก เรียกว่า “เมฆเซอรัส”

...

เมฆ คือ กลุ่มของละอองน้ำขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการควบแน่นของหยดน้ำในอากาศ แต่เมฆชั้นสูงซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจะเป็นกลุ่มของผลึกน้ำแข็งขนาดเล็ก โดยปกติน้ำบริสุทธิ์และไอน้ำโปร่งแสงจนไม่สามารถมองเห็นได้ แต่หยดน้ำและผลึกน้ำแข็งมีพื้นผิว (Surface) ซึ่งสะท้อนแสงทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นก้อนสีขาว และในบางครั้งมุมตกกระทบของแสงและเงาจากเมฆชั้นบนหรือเมฆที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนั้น ความหนาแน่นของหยดน้ำในก้อนเมฆก็อาจทำให้มองเห็นเมฆเป็นสีเทา

สำหรับในธรรมชาติ เมฆเกิดขึ้นโดยมีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ เมฆก้อนและเมฆแผ่น เมฆก้อนเรียกว่า “เมฆคิวมูลัส” และเมฆแผ่นเรียกว่า “เมฆสตราตัส” หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน ซึ่งเหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่ในบ่ายวันที่ 4 ธ.ค.นี้ จากรูปร่างน่า จะเป็นเมฆ คิวมูลัส