“โคบัง” คือตำรวจป้อมของญี่ปุ่น 15,500 แห่งทั่วประเทศ
โดยสร้างขึ้น 6-7 ช่วงตึกในเขตเมือง ตำรวจที่ทำหน้าที่ในโคบังมีภาระหน้าที่เดินเท้าตรวจตราพื้นที่รับผิดชอบ และการให้บริการแก่ประชาชนเมื่อถูกร้องขอหรือมีการแจ้งเหตุ
เจ้าหน้าที่จะต้องเยี่ยมเยียนบ้านเรือนประชาชน พบปะชุมชนเป็นการป้องกันอาชญากรรม และเป็นการรักษาความปลอดภัยของชุมชน ตำรวจที่ทำหน้าที่ในโคบังจะติดต่อสื่อสารกับคนในชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ทำให้รู้พื้นที่ และเข้าใจสถานการณ์ของคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
องค์ประกอบของระบบโคบังกับ “community policing”
หรือ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” เป็นการป้องกันการเกิดอาชญากรรม ซึ่งตำรวจเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลเชิงลึกของคนในชุมชน สภาพปัญหา จุดเสี่ยงต่างๆมากที่สุด
หลักการของโคบัง ก็จะคล้ายกับระบบตู้ยามของตำรวจในอดีต ที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจออกไปประจำที่ตู้ยาม และสร้างความคุ้นเคยกับคนในชุมชนจนเชื่อถือ
ป้อมยามเป็นหน่วยตำรวจเล็กสุดที่มีข้อมูลพื้นฐานของคนในชุมชนเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากความไม่ต่อเนื่องของโครงการ การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ตร.ในอดีต ทำให้ตู้ยามชุมชนของตำรวจถูกลดความสำคัญลงไป
จะมีบาง บช.ที่ยังให้ความสำคัญขับเคลื่อนระบบ “ตู้ยามชุมชน” แต่ก็เป็นเพียงนโยบายระดับภาค ไม่ใช่นโยบายระดับ ตร.
ถึงเวลาแล้วที่ ตร. จะหันกลับมาให้ความสำคัญกับ “ตู้ยามตำรวจชุมชน” จะเป็นต้นทางของการแก้ปัญหาในระดับชุมชน โดยการนำหลักการ community policing ที่ตำรวจทั่วโลกเขาใช้กันมาใช้ เพื่อลดความหวาดระแวง ลดช่องว่างระหว่างตำรวจกับประชาชน
บช.ก. ได้นำมาทดลองใช้และมีผลเป็นที่ยอมรับมาแล้วทั้งโครงการ “สตูลโมเดล” โครงการ “ชุมชนคุณหญิงส้มจีน” และที่ภาค 3 ในยุคของ พล.ต.ท.เชิด ชูเวช เป็น ผบช.ภ.3 นำมาทำ ส่วนปัจจุบัน ตำรวจภาค 4 ของ พล.ต.ท.อนุชัย เล็กบำรุง ผบช.ภ.4 กำลังขับเคลื่อนอยู่
...
เชื่อว่าหลังจากที่ ผบ.ตร. ผู้บริหารระดับสูงของ ตร. ไปดูงานโคบังที่ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว นำมาให้ตำรวจไทยปรับใช้แนวทางนี้อย่างจริงจัง มีแผนให้ชัดเจน
เชื่อว่าสังคมไทยคงจะสงบสุขขึ้นอย่างแน่นอน.
สหบาท