เช้านี้ต้องระวัง ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่ง เกินมาตรฐานหลายจังหวัด เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แนะประชาชนลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง-ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
วันที่ 21 มีนาคม 2568 ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปราจีนบุรี จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.ชุมพร จ.บึงกาฬ จ.หนองคาย จ.เลย จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.หนองบัวลำภู จ.มุกดาหาร จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.อำนาจเจริญ จ.ชัยภูมิ จ.ยโสธร จ.นครราชสีมา และ จ.บุรีรัมย์
- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 16.6 - 77.4 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 24.3 - 72.8 มคก./ลบ.ม.
- ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 24.0 - 63.3 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 18.7 - 82.2 มคก./ลบ.ม.
- ภาคใต้ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.1 - 39.4 มคก./ลบ.ม.
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 39.0 - 75.2 มคก./ลบ.ม.
คำแนะนำทางสุขภาพ
...
ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์
สำหรับประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
ขณะที่ทาง ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 45 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) 12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
- เขตหนองแขม 54.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตธนบุรี 54 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางขุนเทียน 53.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตทวีวัฒนา 53.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางพลัด 53.2 มคก./ลบ.ม.
- สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 52.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ 52.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา 50.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตตลิ่งชัน 50.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตพญาไท 49.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางเขน 49.4 มคก./ลบ.ม.
- สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 49.3 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
44.4 - 52.3 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
39.7 - 50.6 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
40 - 49.6 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
40.1 - 48.7 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
39 - 54 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
42.5 - 54.4 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ, กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร