ย้อนภาพอดีตของหุ่นจราจรตามแยกถูกขนานนามว่า “จ่าเฉย”
ภายหลังเปลี่ยนยุคผู้บริหารหน่วย เจ้าของร่างหัวปิงปองจำลองชั้นผู้น้อยมีอันถูกย้ายเก็บเข้ากรุจนเกลี้ยง เหลือไว้เพียงความทรงจำที่ทำภาพลักษณ์ตำรวจจราจร “บวก” มากกว่า “ลบ”
เที่ยวนี้มีการ “ปัดฝุ่นใหม่” เลื่อนตำแหน่งเลื่อนไหลให้เป็น “สารวัตรเฉย” พ.ต.ต.เฉย ปัญญาประดิษฐ์ ปรับปรุงพัฒนานำระบบ Ai มาใช้บังคับกฎหมายจราจร สร้างวินัยให้ผู้ขับขี่ตามท้องถนน
ภายใต้แนวคิดของ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ส่งต่อ พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ถ่ายทอดให้ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ บัณฑิตย์ ผบก.จร. พ.ต.อ.จตุพล เร่งถนอมทรัพย์ รอง ผบก.จร. พ.ต.อ.จามร ทองพรรณ รอง ผบก.จร. นำไปต่อยอด
หยิบเอาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์มาใช้ในงานด้านจราจรตามวิวัฒนาการของโลกดิจิทัล
นำร่องทดลองใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่เนื่องจากมองปัญหาประชาชนขับรถไปจอดบนทางด่วนพิเศษศรีรัชเพื่อรอชมการจุดพลุฉลองส่งท้ายศักราชเป็นเหตุให้การจราจรติดขัดและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
มอบหมาย พ.ต.อ.พารินท จันทร์เลิศ ผกก.2 บก.จร. พ.ต.ท.ทศพร กลีบแก้ว รอง ผกก.2 บก.จร. จัดทำแผนป้องกันมิให้ประชาชนนำรถมาจอดบนทางด่วนพิเศษ
ติดตั้งหุ่น “สารวัตรเฉย” ที่มีเทคโนโลยีบันทึกภาพผู้กระทำผิดกฎจราจรไปใช้เก็บข้อมูล พบรถฝ่าฝืนกฎจราจรจำนวนหลายคัน ควบคู่กับการรวบรวมข้อมูลจากกล้องประจำตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจ (Body Camera)
ส่งข้อมูลป้ายทะเบียนรถ ยี่ห้อรถ ประเภทรถ และสีรถ ไปยังศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีด้านการจราจร ออกใบสั่งอัตโนมัติส่งตรงไปยังบ้านของผู้ที่กระทำความผิด
ทำให้ภารกิจอนาคตของ “สารวัตรเฉย” จะไม่แค่เป็นหุ่นยืนนิ่งเหมือน “จ่าเฉย” ในอดีต
...
จากผลผลิตของปัญญาประดิษฐ์ช่วยจับผิดคนฝ่าฝืนกฎหมายจราจร.
สหบาท
คลิกอ่านคอลัมน์ “ส่องตำรวจ” เพิ่มเติม