“ศุภมาส อิศรภักดี” รมว.อว. สุดปลื้มปฏิบัติการจิตอาสา 3 มหาวิทยาลัย สู้วิกฤติอุทกภัยชายแดนใต้ ยกระดับงานวิจัยแก้จน สู่แพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติบำบัดทุกข์ชาวบ้านด้วยหัวใจ ซึ้งใจการทำความดี ด้วยหัวใจของจิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ประชาชนจังหวัดชายแดนใต้ที่ประสบวิกฤติอุทกภัยครั้งรุนแรงด้วยความรวดเร็วฉับไว พร้อมยืนยันผลักดันการใช้ประโยชน์จากแพลต ฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ให้ครอบคลุมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นท้องที่จนถึงระดับชาติ

จิตอาสา 3 มหาวิทยาลัยกว่า 3 หมื่นคน ระดมกำลังทุ่มเทมันสมอง ร่วมกันคิดค้นยกระดับงานวิจัยแก้จน สร้างเป็นแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจชาวบ้านที่ประสบวิกฤติอุทกภัย จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมกับแสดงความชื่นชมความเสียสละในการปฏิบัติงานของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ตลอดจนบุคลากร 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

รมว.อว. กล่าวว่า พลังความรู้จากงานวิจัยของ คณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนขุมพลังของบุคลากรทั้ง 3 มหาวิทยาลัยกว่า 3 หมื่นคน ที่เชื่อมโยงกับพลัง ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่ ภายใต้การจัดการอย่างเป็นระบบ ตามองค์ประกอบในแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ที่ถูกยกระดับจากแพลตฟอร์มแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งทั้ง 3 มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวง อว. ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาขึ้นในช่วง หลายปีที่ผ่านมา ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชน ที่ประสบวิกฤติอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ได้รับการบำบัดบรรเทาในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งได้รับการฟื้นฟูเยียวยาอย่างฉับไว

...

“กระทรวงอยากผลักดันให้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ มีความก้าวหน้าและยั่งยืน โดยจะให้การสนับสนุนให้ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์แพลต ฟอร์มสู้ภัยพิบัติให้ครอบคลุมทุกระดับทั้งระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับลุ่มน้ำ ระดับส่วนกลาง ขณะเดียวกัน จะให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยในพื้นที่เชื่อมโยงกลไกภาคีและหน่วยปฏิบัติการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นกับความรู้สากล เพื่อนำ ไปสู่การจัดการภัยพิบัติ ตามบริบทเฉพาะของแต่ละ พื้นที่ โดยสนับสนุนให้ บพท.เป็นหน่วยบูรณาการ เชื่อมโยงการทำงานและร่วมมือกับหน่วยปฏิบัติการด้านภัยพิบัติระดับต่างๆ เพื่อให้เกิดกลไกการทำงาน ระดับชุมชน เชื่อมโยงกับระดับจังหวัดและนโยบายระดับชาติ” น.ส.ศุภมาสกล่าว

ด้าน ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ความสำเร็จในการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูเยียวยาแก่ประชาชน ที่ประสบวิกฤติอุทกภัย จังหวัดชายแดนใต้ ที่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ฉับไว คือดอกผลจากการยกระดับงานวิจัยแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำ ไปสู่แพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ หรือ Disaster Platform แล้วบูรณาการเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงกับพลังข้อมูล พลังภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ โดยมีประชาชนผู้ประสบภัยเป็นศูนย์กลาง สืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ว่าด้วย “จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ”

“กระบวนการขับเคลื่อนกลไกแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนจากวิกฤติ อุทกภัยจังหวัดชายแดนใต้ของ 3 มหาวิทยาลัย มุ่งเน้น ความสอดคล้องกับเงื่อนไข ข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ โดยมีอาจารย์อรุณี บัวเนี่ยว อาจารย์สมพร ช่วยอารีย์ เป็นหัวหน้าชุดรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดปัตตานี อาจารย์เกสรี ลัดเลีย เป็นหัวหน้าชุดรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดยะลา และอาจารย์วสันต์ พลาศัย เป็นหัวหน้าชุดรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนราธิวาส” ดร.กิตติกล่าว พร้อมชี้แจงต่อไปว่าบุคลากรทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ล้วนทำตัวเป็นอาสาสมัครบรรเทาทุกข์ประชาชนด้วยหัวใจ โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ทั้งใน การแปลงอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์พักพิง ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการด้านสูติกรรม บริบาลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้งเป็น โรงครัวจัดทำอาหารปรุงสุก แจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ควบคู่ไปกับหน่วยบริการเคลื่อนที่ในการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ที่เสียหายจากน้ำท่วม รวมทั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่ด้านสัตวบาล และด้านสาธารณสุขด้วย

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่