“โผนายพล ตร.” รอบนี้ใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2565 ได้ดี วางหลักเกณฑ์ป้องกันแทรกแซงของฝ่ายการเมืองเข้ามามากจนเกินไป ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังมีข้อห่วงใยและกังวลใจของเหล่าตำรวจ

กฎเกณฑ์การแต่งตั้งปิดช่องโอกาสใช้คนที่มีความรู้ความสามารถแต่อาวุโสน้อย ถูกตีความ วางกฎกติกา นอกเหนือกฎหมายที่วางกรอบไว้ เดิม ผบช.เป็นรอง ผบช.ไม่น้อยกว่า 2 ปี ถือว่าครบหลักเกณฑ์

เจตนารมณ์กฎหมาย

2 กลุ่มอาวุโสข้ามไม่ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ อีกกลุ่ม 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีความรู้ ความสามารถ แข่งขันกันในกลุ่มหลัง ตลอดปีทำงานต่อเนื่อง ผลงานเป็นที่ประจักษ์ วางกรอบ 2 ปีให้ไม่ได้ ตีตกตั้งแต่ไม่ขึ้นชกบนเวที

ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่ต้องเขียนเกณฑ์ 2 ปีเลื่อนสูงขึ้นได้ วางกรอบไปเลยว่ากี่ปีขึ้นชกได้ ไม่ใช้ยกบันไดหนีเหมือนอดีต กฎหมายเปิดโอกาสให้แข่งขันกันคนครบหลักเกณฑ์ ทุกคนย่อมมีสิทธิเข้าแข่งขัน

ถือว่าวาง “กติกา” ออกมากีดกันดาวรุ่ง ทำงานเข้าแลกเพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้น

บางคนอาวุโสสูงแต่ทำงานแบบเช้าชาม เย็นชาม เพราะได้อาวุโส ยังไงได้ขึ้น หากเป็นอย่างนี้แล้วองค์กรตำรวจอาจไม่ได้รับการ พัฒนาเท่าที่ควร ในประเทศพัฒนาผู้บริหารภาคธุรกิจ เอกชน หรือภาครัฐเอง

หันกลับมาใช้คนรุ่นใหม่ ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก หวังผลความสำเร็จของงาน

ลองปรับเปลี่ยนมุมมอง

กลุ่มคนที่อาวุโสน้อยแต่มีผลงาน อยากทำงานให้องค์กร พอครบหลักเกณฑ์ไม่ได้รับการพิจารณา อาจทำให้คนบางกลุ่มเกิดแรงเฉื่อย ปล่อย “เกียร์ว่าง” ไม่อยากทำงาน เพราะทำงานแล้วไม่ได้ช่วยอะไรมาก

สุ่มเสี่ยง พลาดเกมไปต่อไม่ได้ สู้ไปเรื่อยๆเดี๋ยวอาวุโสแล้ว

หากเป็นเช่นนี้คนในสังคมเสียโอกาสได้รับการบริหารจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นกับคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน

...

คนที่เสียหายคือพี่น้องประชาชน.

“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ “เลขที่1 วิภาวดีฯ” เพิ่มเติม