นายอนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร (กวก.) เผยว่า กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยามีภารกิจในการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยมังคุดในสวนของเกษตรกร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ประมาณ 20% จากต้นทุนการเพาะปลูก ในส่วนของปุ๋ยประมาณ 30% ของต้นทุนรวม การวิเคราะห์ดินก่อนการใช้ปุ๋ย เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เกษตรกรไม่ใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นหากดินมีธาตุอาหารชนิดนั้นมากอยู่แล้วก็ไม่ต้องใส่ปริมาณมาก ธาตุไหนยังไม่เพียงพอจึงจะใส่เพิ่มในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช

ผอ.กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา บอกว่า มังคุดในแต่ละช่วงจะแบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็น 4 ครั้งต่อปี ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช คือ ระยะบำรุงต้น (ช่วงตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยว), ระยะสร้างตาดอก (ก่อนออกดอก 1-2 เดือน), ระยะบำรุงผล (หลังดอกบาน 1 เดือน) และ ระยะปรับปรุงคุณภาพ (ก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน) ปริมาณการดูดธาตุอาหารของมังคุด จะมีความ ต้องการธาตุอาหารชนิดต่างๆที่แตกต่างกัน

“ผลมังคุดมีการดูดใช้และสะสมธาตุอาหารในส่วนเนื้อสูงที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะโปแตส เซียมซึ่งมีในปริมาณมากที่สุด เท่ากับ 3.07 กรัมต่อกิโลกรัม ไนโตรเจน 1.00 กรัมต่อ กิโลกรัม และฟอสฟอรัส 0.47 กรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ รองลงมาคือ ส่วนเปลือก ขั้วผล และเมล็ด ตามลำดับ”

...

ฉะนั้นหากมีการนำผลมังคุดออกไปนอกพื้นที่จะทำให้สูญเสียธาตุอาหารออกไปกับผลผลิต ซึ่งเท่ากับไนโตรเจน 1.40 กรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.57 กรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม และโปแตส เซียม 3.60 กรัมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไปชดเชยในส่วนของธาตุอาหารที่สูญหายออกไปจากพื้นที่ เพื่อสร้างสมดุลของธาตุอาหารในดินและความยั่งยืนในระบบการผลิตมังคุด

สำหรับวิธีการเก็บตัวอย่างดินในสวนมังคุดเกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตัวเองตามขั้นตอนดังนี้

1.สุ่มเก็บตัวอย่างดินจำนวน 10-20 ต้นต่อแปลง (พื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่)

2.เก็บตัวอย่างดินจาก 4 ทิศรอบต้น ห่างจากชายพุ่มเข้าไปด้านในประมาณ 50 ซม.

3.เก็บตัวอย่างดินที่ 2 ระดับความลึก คือดินบนที่ความลึก 0-15 ซม. และดินล่าง ที่ความลึก 15-30 ซม.

4.รวมตัวอย่างดินจาก 4 จุด ให้เป็นตัวอย่างดินบน 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างดินล่าง 1 ตัวอย่าง

5.นำตัวอย่างดินบนของแต่ละต้นมาคลุกให้เข้ากัน และแบ่งใส่ถุงประมาณ 1 กก. พร้อมบันทึกรายละเอียดตัวอย่าง เช่น สถานที่เก็บตัวอย่าง ระดับความลึกของดิน เป็นต้น

6.นำตัวอย่างดินล่างของแต่ละต้นมาคลุกให้เข้ากัน และแบ่งใส่ถุงประมาณ 1 กก. พร้อมบันทึกรายละเอียดตัวอย่าง เช่น สถานที่เก็บตัวอย่าง ระดับความลึกของดิน เป็นต้น และ

7.นำตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์ตามหน่วยงานที่รับวิเคราะห์ตัวอย่างดิน

อย่างไรก็ตาม ทุกปีเกษตรกรควรเก็บ ตัวอย่างดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมาวิเคราะห์ เพื่อทราบระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน หากเกษตรกรต้องการปรึกษาขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดินหรือการปรับปรุงดิน และการใช้ปุ๋ย สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โทร. 0-2579-7514 หรือ 0-2579-4116.

...

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่