จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำ แพร่ระบาดไปในพื้นที่ 19 จังหวัด จันทบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, สงขลา, ชลบุรี, พัทลุง และปราจีนบุรี

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ.2567

ห้ามมิให้บุคคลมีไว้ในครอบครองปลาหมอคางดำมีชีวิตนอกพื้นที่การแพร่ระบาด ส่วนปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต สามารถนำออกนอกพื้นที่ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด

1.กรณีครอบครองโดยการเคลื่อนย้ายปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

การเคลื่อนย้ายที่มีการแช่เย็นด้วยน้ำแข็ง ต้องใส่ในภาชนะบรรจุมิดชิด แล้ววางในภาชนะอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นให้ใส่น้ำแข็งให้เต็มเพื่อให้ปลาตายสนิท ก่อนนำออกนอกพื้นที่แพร่ระบาด...การเคลื่อนย้ายที่มีการตัดหัว ควักไส้ แล่เป็นชิ้น หมักเกลือ เศษซากของปลาห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ และต้องมีการจัดการไม่ให้ไข่ปลาหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำ

2.การเคลื่อนย้ายปลาหมอคางดำไม่มีชีวิตไปทำปลาป่น ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง และอยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด ป้องกันเศษซากร่วงหล่นระหว่างเคลื่อนย้าย

3.การเคลื่อนย้ายปลาหมอคางดำไม่มีชีวิตเพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบโครงการของรัฐ ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง อยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด ป้องกันเศษซากร่วงหล่นระหว่างเคลื่อนย้าย

4.การเคลื่อนย้ายปลาหมอคางดำไม่มีชีวิตที่กระทำโดยทางราชการ ต้องทำให้ปลาตายสนิทและบรรจุซากใส่ในภาชนะก่อนเคลื่อนย้ายซากไปทำลาย

การล้างอุปกรณ์ ภาชนะ รวมไปถึงพาหนะในการขนส่งปลา ห้ามเทน้ำล้างอุปกรณ์ลงในแหล่งน้ำและท่อน้ำทิ้งสาธารณะ เนื่องจากไข่ปลาหมอคางดำอาจติดมาและเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดในแหล่งน้ำอื่นได้

...

ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าหากนำปลาหมอคางดำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

สะ–เล–เต

คลิกอ่าน "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม