วันที่ 22 ส.ค. 67 เวลา 10.00 น. ที่อาคารอเนกประสงค์ บ้านบางพะยอม หมู่ที่ 1 ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยมี นายสุธน ศรีหิรัญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงพื้นที่ โดยอาจารย์ขวัญทอง สอนศิริ (อ.โจ้) ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพชรเสฏฐ์ บุญศิริสาริศา นายทรงพล วิชัยขัทคะ นายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายนิสิต สวัสดิเทพ ปลัดจังหวัดพิษณุโลก นายอธิปไตย ไกรราช หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก นางศุภลักษณ์ แก้วมณี พัฒนาการจังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 9 อำเภอ นายนพคุณ แถมพยัคฆ์ นายกเทศมนตรีตำบลหัวรอ สมาชิกสภา นางปิ่นเพชร พูลสวัสดิ์ กำนันตำบลหัวรอ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน และภาคีเครือข่าย ร่วมให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะ ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามแนวทางการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อาทิ การน้อมนำพระราชดำริเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร "ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน" แปลงสวนผักชุมชน คนบางพะยอม ครัวเรือนตัวอย่าง พอเพียง ที่ออกกำลัง ฟิตเนสชุมชนต้นแบบ พร้อมมอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ ทีมฟุตบอลสโมสรบางพะยอมจูเนียร์ แชมป์ประเทศไทย รุ่นอายุ 16 ปี (ธันวาคม 2565) สนามแข่งขันสระบุรี และเยี่ยมชมร้านผ้าทอไหมไทยโบราณ พิษณุโลก
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่ทางจังหวัดพิษณุโลกได้เชิญให้ตนและคณะมาตรวจเยี่ยมหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable) ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ บ้านบางพะยอม ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งของตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ทำให้ได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นต้นแบบ ได้เห็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพี่น้องประชาชน ทั้งในเรื่องของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการดูแลสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย และที่สำคัญที่หมู่บ้านนี้มีความโชคดี คือ ผู้คนต่างมีความรัก ความหวงแหนในเรื่องของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทยเรา คือ เรื่องผ้าไทย งานอัญมณี และงานศิลปะ ซึ่งทำให้ตนรู้สึกว่าชีวิตนี้มีหวัง ถ้าหากต้นแบบที่บ้านบางพะยอมสามารถนำไปขยายผลให้หมู่บ้านอื่นภายใต้การนำของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านปลัดจังหวัด ท่านนายอำเภอ ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และท่านนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกๆ แห่ง ให้เต็มพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก อันจะทำให้เรามีโอกาสที่ดีในการร่วมกันดำเนินการตามแนวพระดำริ Sustainable Village และ Sustainable Fashion ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านต้นแบบแห่งความยั่งยืน
"มากไปกว่านั้น Best Practice ที่สำคัญ คือ บ้านบางพะยอมสามารถนำเอาโครงการทางนี้มีผลผู้คนรักกัน และโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาพัฒนาและขับเคลื่อนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย รวมไปถึงยังสามารถพัฒนางานในเรื่องของงานหัตถกรรมหัตถศิลป์ การดูแลสุขภาพของผู้คนทุกช่วงวัย ทั้งอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ที่หลับที่นอนที่สะอาด การใช้เวลาว่างในการออกกำลังกาย และมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ตอนนี้ "บ้านบางพะยอม" มีครบทุกประการแล้ว ซึ่งจะต้องร่วมกันพัฒนาให้ดีเด่นขึ้นอีกได้ จึงต้องขอขอบพระคุณและชมเชยท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงท่านนายกเทศมนตรี นายก อบต.ทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันส่งผ่านเรื่องดีๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ตามหลัก SDGs และตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่พระองค์ท่านทรงปรารถนาให้ "ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข" ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตนหวังว่าทางจังหวัดพิษณุโลกจะสามารถช่วยกันขยายผลต่อไปให้ยั่งยืนได้ในอนาคต" นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม
จากนั้นในเวลา 11.30 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะ เดินทางต่อไปยังวัดตาปะขาวหาย ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยได้เยี่ยมชมแหล่งโบราณคดีเตาเผาโบราณสมัยสุโขทัยตอนปลาย ไหลายอุอัตลักษณ์เครื่องดินเผาลุ่มน้ำน่าน เมืองพิษณุโลก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านติดกับวัดตาปะขาวหาย ซึ่งเป็นหลักฐานปรากฏให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้ เคยรุ่งโรจน์ด้วยอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผามาก่อน เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญของเมืองพิษณุโลก พร้อมเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้ายโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนหัวรอและพื้นที่ต่อเนื่อง ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และเยี่ยมชมนิทรรศการการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย อาทิ การบริหารจัดการขยะเทศบาลตำบลหัวรอ ลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะภายในครัวเรือนด้วยพลัง "บวร : บ้าน วัด ราชการ โรงเรียน" มอบ "สมุดบันทึกขยะชุมชน" ให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน 12 หมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมระบบการขับเคลื่อนต่อยอดการคัดแยก การสร้างรายได้จากการคัดแยก และจำหน่ายขยะในชุมชน และเยี่ยมชมความมั่นคงทางอาหาร "สวนผัก พระทำ แปลงชุมชน" การผลิตปุ๋ยผักตบชวา จากการขุดลอกคลองสระโคล่ และ "ดินหัวรอ" ชมการแสดงของผู้สูงอายุหัวรอ วงโปงลางโรงเรียนวัดมหาวนาราม และเยี่ยมชมของดีหัวรอ ณ หอสวดมนต์ไม้โบราณ สมัยรัชกาลที่ 5 อาทิ พุทธศิลป์ สกุลพระกรุ ยอดนิยม ถิ่นหัวรอ เตาไห (กรุวัดโพธิญาณ กรุวัดตาปะขาวหาย ฯลฯ) โครงการฟื้นฟูส่งเสริมภูมิปัญญา การปั้นเครื่องปั้น วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเลี้ยงไก่ชนนเรศวร ไก่เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง ไก่ชนเหลืองหางขาวพ่อพันธุ์ที่ผลิตลูกไก่และไข่ไก่ชน ทำรายได้ปีละกว่า 2 ล้านบาทเศษ