นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เดือน มิ.ย.2567 พบวัยแรงงานอายุ 20-59 ปี ขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 รวมกว่า 6,337 สาย จากทั้งหมด 8,528 สาย สะท้อนความต้องการวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต สสส.จึงร่วมกับคณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดกิจกรรมการคัดเลือกสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตเพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นเชิงบวก ทั้งด้านการงานและด้านจิตใจของบุคลากร นำไปสู่การยกระดับเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตของประเทศ เพื่อขยายผลปรับใช้เพื่อพัฒนาสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตให้แก่พนักงานองค์กรอื่นๆต่อไป
ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบัน TIMS กล่าวว่า การสำรวจสุขภาวะของคนทำงานและปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ปี 2566 พบพนักงานมีปัญหาสุขภาพจิต 42.7% ในจำนวนนี้มีภาวการณ์ฝืนทำงานแม้มีปัญหาสุขภาพจิต 27.5% ส่วนใหญ่เกิดจาก 5 สาเหตุ 1.คิดว่าไม่มีใครทำงานแทนได้ 2.มีงานด่วน 3.กลัวผลกระทบกับผลการประเมิน 4.ความจำเป็นด้านการเงิน 5.รู้สึกว่ายังทำไหวไม่จำเป็นต้องหยุดทำงาน
ที่สำคัญพบว่า พนักงานต้องการนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีในการทำงาน 6 เรื่อง
1.เพิ่มสวัสดิการด้านการรักษาสุขภาพกายและใจ 41.7%
2.อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ 6.7%
3.เพิ่มสวัสดิการการลา 13.1%
4.ส่งเสริมการพูดคุยสื่อสารและรับฟังปัญหา 11.3%
5.สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร 10.1%
6.เพิ่มสวัสดิการทางการเงิน (ค่าตอบแทน อาหาร โบนัส) 6%.
...
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่