มีลุ้น! เอกชน พบ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หารือ มาตรฐานอาชีพ “หมอลำ” หวังสร้างตัวตนให้คนในวงการ ยัน พร้อมสนับสนุน อนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และเป็น 1 ใน ซอฟต์พาวเวอร์ไทย

วันที่ 8 ก.ค. นายสุชาติ อินทร์พรหม ผู้อำนวยการสร้างรายการหมอลำไอดอล และเจ้าของวงหมอลำ อีสานนครศิลป์ เข้าพบหารือร่วมกับนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ถึงแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพหมอลำ หวังให้คนในวงการหมอลำได้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มีตัวตนเป็นที่ยอมรับในสังคม

...

นายสุชาติ เปิดเผยว่า หมอลำเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมในพื้นที่ของชาวอีสาน มีรูปแบบต้นกำเนิดจากการเล่าเรื่อง ตำนานวรรณกรรมพื้นบ้าน คติสอนใจทางศาสนา ซึ่งปัจจุบันมีการดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยและเป็นที่นิยมมากขึ้น เรียกได้ว่าหมอลำเป็นศูนย์รวมและเป็นความภูมิใจของคนอีสาน ที่สามารถสร้างรายได้ให้ทีมงานวงหมอลำเฉลี่ยมีรายได้ไม่น้อยกว่า 200 วันต่อปี โดยเฉลี่ย 1 วงหมอลำมีสมาชิก 200-300 คน ซึ่งจะมีทั้งนักร้อง นักเต้น คนทำฉาก ทำชุด รวมไปถึงอุปกรณ์แสงสีเสียง สำหรับค่าจ้างเริ่มต้นที่ประมาณ 200,000-400,000 บาท ขึ้นอยู่กับกระแสความนิยมของวง ยิ่งดังราคายิ่งสูง รวมถึงระยะทางและสถานที่จัดงาน การขึ้นโชว์แต่ละครั้งจะเริ่มโชว์ตั้งแต่ประมาณ 21.00 น. ไปจนถึงเช้าของอีกวันเลยทีเดียว วงหมอลำจึงเป็นส่วนที่สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับประเทศไม่น้อย

“แต่คนในวงการนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการศึกษาสูงนัก หากได้รับการการันตีในอาชีพ ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งเป็นการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ก็จะแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่อยู่ในวงการหมอลำมากกว่า 4,000 ชีวิต มีอาชีพที่เรียกว่า หมอลำ ทำให้พวกเขาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีตัวตนในสังคม” นายสุชาติ กล่าว

ด้านนางสาววรชนาธิป ระบุว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมให้การสนับสนุนการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหมอลำเองก็เป็นศิลปะการแสดงอีกแขนงหนึ่งที่เป็นอีกซอฟต์พาวเวอร์ของไทย และได้มีการนำจัดแสดงในงาน THACCA SPLASH-Soft Power Forum ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Soft Power 11 สาขา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อถ่ายทอดความเป็นไทยออกสู่สายตาคนทั่วโลกมาแล้ว ซึ่งสถาบัน จะได้นำไปหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพหมอลำต่อไป โดยเฉพาะหมอลำเป็นธุรกิจที่กำลังเป็นกระแสนิยมไม่เพียงแต่ในหมู่คนในพื้นที่ภาคอีสานแต่ได้ขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ต่อเนื่องไปถึงธุรกิจรถแห่ที่สร้างรายได้ให้คนในอาชีพและเห็นควรได้รับการส่งเสริมผลักดันให้เกิดการรับรองอาชีพต่อไป

“แต่คนในวงการนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการศึกษาสูงนัก หากได้รับการการันตีในอาชีพ ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งเป็นการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ก็จะแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่อยู่ในวงการหมอลำมากกว่า 4,000 ชีวิต มีอาชีพที่เรียกว่า หมอลำ ทำให้พวกเขาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีตัวตนในสังคม” นายสุชาติ กล่าว

...

ด้านนางสาววรชนาธิป ระบุว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมให้การสนับสนุนการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหมอลำเองก็เป็นศิลปะการแสดงอีกแขนงหนึ่งที่เป็นอีกซอฟต์พาวเวอร์ของไทย และได้มีการนำจัดแสดงในงาน THACCA SPLASH-Soft Power Forum ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Soft Power 11 สาขา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อถ่ายทอดความเป็นไทยออกสู่สายตาคนทั่วโลกมาแล้ว ซึ่งสถาบัน จะได้นำไปหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพหมอลำต่อไป โดยเฉพาะหมอลำเป็นธุรกิจที่กำลังเป็นกระแสนิยมไม่เพียงแต่ในหมู่คนในพื้นที่ภาคอีสานแต่ได้ขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ต่อเนื่องไปถึงธุรกิจรถแห่ที่สร้างรายได้ให้คนในอาชีพ และเห็นควรได้รับการส่งเสริมผลักดันให้เกิดการรับรองอาชีพต่อไป