นิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดงาน ASIAN LAW INSTITUTE (ASLI) ANNUAL CONFERENCE ครั้งที่ 21 ดึงนักวิชาการกว่า 100 สถาบันทั่วโลกร่วมงาน คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ รับไม้ต่อประธาน ASLI คนใหม่

วันที่ 5 มิ.ย. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง (Founding Members) เครือข่ายสถาบันกฎหมายแห่งเอเชีย (Asian Law Institute ‘ASLI’) ได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “21st ASIAN LAW INSTITUTE (ASLI) ANNUAL CONFERENCE 2024” ภายใต้หัวข้อหลัก “The Future of Law, the Future of Asia ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2567 โดยมีคณบดีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 16 สถาบัน ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ASLI รวมทั้งนักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 100 สถาบันทั่วโลก เข้าร่วมการประชุม 260 คน เพื่อมานำเสนองานวิจัย 176 หัวข้อ

พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ชั้น 5 อาคารเทพทวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
โดยได้รับเกียรติจากท่านประธานศาลฎีกา (นางอโนชา ชีวิตโสภณ) เป็นแขกผู้มีเกียรติในพิธี และศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการปรองดองแห่งเอเชีย, อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
และอดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมี ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เจ้าภาพในการจัดการประชุมครั้งนี้ ขึ้นกล่าวต้อนรับ และ Prof.Ryuji Yamamoto ประธานคณะกรรมการ ASLI กล่าวเปิดการประชุมร่วมกับ Assoc.Prof.Kelry Loi จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันฯ ASLI

...

โดยมีการประชุมภายใต้หัวข้อหลัก The Future of Law, the Future of Asia ซึ่งภายในงานมีการนำเสนองานวิชาการ 176 หัวข้อ แบ่งเป็นเวทีย่อยตามหัวข้อต่างๆ จำนวน 29 เวที

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า " จุฬาฯ มีความยินดีและภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้กลับมาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ ASLI อีกครั้ง หลังจากที่ได้จัดครั้งแรกเมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นงานใหญ่ในรอบ 20 ปี ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านกฎหมายของภูมิภาคและนานาชาติ หัวข้อหลักของเราในปีนี้ "The Future of Law, The Future of Asia." ที่สะท้อนถึงความท้าทายต่ออนาคตมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีสิ่งหนึ่งที่ยังคงยืนหยัด คือ การที่เอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่ยืนอยู่บน เวทีวิชาการนี้จึงมีส่วนผลักดันความสำคัญของกฎหมายของโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต” และสะท้อนศักยภาพของนักวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้มีส่วนนำเสนอผลงานวิชาการและเป็นประธานในเวทีย่อยต่างๆ กว่า 20 เวที

วาระสำคัญชี้อนาคตของเอเชีย ศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษใจความสำคัญว่า ความเป็นพลวัตของกฎหมายและความสัมพันธ์กับเอเชียจะขึ้นอยู่กับความปั่นป่วนดังต่อไปนี้ : เทคโนโลยี, ประชากร, การแพร่ของโรคระบาด, สิ่งแวดล้อม, ภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมือง และความปั่นป่วนที่เกิดจากความขัดแย้งภายในประเทศ ทั้งหมดนี้จะมีผลกระทบต่ออนาคตของทั้งเอเชียและกฎหมาย พร้อมทั้งทิ้งประเด็นสำคัญสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อขบคิดต่อไปว่า อนาคตของกฎหมายจะมีผลต่ออนาคตของเอเชีย หรืออนาคตของเอเชียจะมีผลต่ออนาคตของกฎหมาย สู่ปณิธานเดียวกัน เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางปัญญาและขับเคลื่อนความก้าวหน้าทั่วภูมิภาค

ในช่วงเย็นวันเดียวกันนั้น ได้จัดงาน WELCOME DINNER โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทน อธิการบดีจุฬาฯ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงานเลี้ยงต้อนรับ แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ ASLI ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ย้ำปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า “ภารกิจของ ASLI สอดคล้องกับปณิธานของจุฬาฯ ในการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางปัญญาและขับเคลื่อนความก้าวหน้า ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นทั่วทั้งภูมิภาค”

...

ในวันที่สองของการประชุมนานาชาติ มีการจัดเสวนาพิเศษถึงชุดหนังสือภาษาอังกฤษว่าด้วยกฎหมายไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะมีการตีพิมพ์ตำราหนังสือกฎหมายไทยเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักวิชาการและชาวต่างชาติที่สนใจศึกษากฎหมายไทย และใช้เป็นหนังสือหลักในการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติของจุฬาฯ ที่เพิ่งเปิดเมื่อปีที่แล้วเป็นรุ่นแรก โดยมี ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล และ ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้แต่งหนังสือ 2 เล่มแรกของชุดหนังสือกฎหมายนี้ คือ “Contract law in Thailand” และ “Tort Law in Thailand” ร่วมด้วย Prof. Dr.Victor V. Ramraj จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศแคนาดา และ รศ.ดร.ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ บรรณาธิการชุดหนังสือเป็นผู้ดำเนินรายการ

การประชุมวิชาการนานาชาติ ASLI Annual Conference 2024 ครั้งที่ 21 ได้ปิดฉากลงด้วยการนำเสนอของศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ โดยได้สังเคราะห์เอกสารวิชาการ และเชื่อมโยงการอภิปรายหารือหัวข้อต่างๆ ที่มีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้เพื่อสะท้อน "การเดินทางของลู่ทางของกฎหมาย การลิขิตโชคชะตาของเอเชีย" (Navigating Law's Trajectory, Choreographing Asia's Destiny) และเน้นย้ำข้อท้าทายใหม่ๆ อาทิ ประเด็นสภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลและการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และมิติระหว่างวัย ซึ่งการประชุม Summit of the Future ครั้งนี้มีการอภิปรายทั้งประเด็นปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายเปรียบเทียบ กฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายจารีตประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน รวมถึงประเด็นปัญหาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องทางกฎหมายในปัจจุบัน โดยใช้มุมมองจากทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ซึ่งมีการอ้างถึงทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่จะนำไปสู่ลู่ทางอันเป็นพลวัตสำหรับการประชุมปีหน้า ณ นครเซี่ยงไฮ้ ในหัวข้อ "ทัศนะของเอเชีย" (Asia's Narratives) ที่จะเน้นความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ (Asia Plus) ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและสะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นการปิดฉากการประชุมนานาชาติที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้อย่างสมบูรณ์

...

คณะกรรมการ ASLI ลงมติเห็นชอบให้คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานคนใหม่ต่อไป
และปิดท้ายด้วยพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถาบันกฎหมายเอเชีย (Asian Law Institute) ให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารคนใหม่ต่อไป

Asian Law Institute หรือ ASLI ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะกฎหมายแต่ละสถาบันในการพัฒนากฎหมายเอเชีย (Asian law) มีสถาบันผู้ร่วมก่อตั้งจำนวน 16 สถาบัน จะมีตัวแทนจากแต่ละสถาบันเป็นคณะกรรมการ ASLI Board of Governor's Meeting ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดบริหารเป็นประจำทุกปี และมีสมาชิกทั่วไปจำนวนกว่า 100 สถาบันทั่วโลก

โดยในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ก่อนวันประชุมวิชาการนานาชาติ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดการประชุม ASLI Board of Governors Meeting 2024 ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ ผศ.ดร. ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารฯ คนต่อไป 

อย่างไรก็ตาม การประชุมวิชาการนานาชาติ ASLI ครั้งที่ 21 ซึ่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพ ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ ด้วยการนำเสนอของศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้สังเคราะห์เอกสารวิชาการ และเชื่อมโยงการอภิปรายหารือหัวข้อต่างๆ ที่มีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ เพื่อสะท้อน "การเดินทางของลู่ทางของกฎหมาย การลิขิตโชคชะตาของเอเชีย" (Navigating Law's Trajectory, Choreographing Asia's Destiny) และเน้นย้ำข้อท้าทายใหม่ๆ อาทิ ประเด็นสภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลและการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และมิติระหว่างวัย

...

ในการประชุม Summit of the Future ครั้งนี้ ได้มีการอภิปรายทั้งประเด็นปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายเปรียบเทียบ กฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายจารีตประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน รวมถึงประเด็นปัญหาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องทางกฎหมายในปัจจุบัน โดยใช้มุมมองจากทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ซึ่งมีการอ้างถึงทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่จะนำไปสู่ลู่ทางอันเป็นพลวัตสำหรับการประชุม ASLI ครั้งต่อไปในปี 2568 ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ในหัวข้อ "ทัศนะของเอเชีย" (Asia's Narratives)

ปิดท้ายด้วยพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถาบันกฎหมายเอเชีย (Asian Law Institute : ASLI) ให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุม ASLI Board of Governors Meeting (คณะกรรมการบริหารสถาบันกฎหมายแห่งเอเชีย) ประจำปี ค.ศ. 2024 ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารคนต่อไป