ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในระหว่างร่วมเสวนาทางวิชาการ “การจัดการศึกษาเสริมสร้างคุณธรรม เพื่อก้าวสู่โลกยุคใหม่ด้วยหัวใจซื่อสัตย์” ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่โลกยุคใหม่ด้วยหัวใจซื่อสัตย์” Shaping the Modern Landscape with Moral and Ethics Symposium 2024 จัดโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ว่า คุณธรรมความซื่อสัตย์ เป็นนามธรรมที่อยู่ในความคิด จิตสำนึก แต่สามารถบ่มเพาะปลูกฝังได้ โดยเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ทั้งนี้ นอกจากสังคมที่เปี่ยมไปด้วยหัวใจซื่อสัตย์ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรม ความซื่อสัตย์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดให้ความ ซื่อสัตย์เป็น 1 ใน 8 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 โดยในปี 2567 สพฐ.ได้ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมที่มุ่งการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ และกรอบแนวคิดในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 5 ประการ ได้แก่ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และอุดมการณ์คุณธรรม มีกลุ่มเป้าหมาย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขต โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา 400,000 คน นักเรียน 6,979,005 คน โดยขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.การสร้างคนดีให้บ้านเมือง 2.การเสริมสร้างคุณธรรม ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา 3.การสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 4.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และ 5.การพัฒนานวัตกรรมสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้โรงเรียนซึมซับคุณค่าแห่งคุณธรรมความดี.

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่