นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยุง เป็นพาหะนำโรคติดเชื้อที่รุนแรงหลายชนิด สำหรับวิธีการทายาทากันยุงโดยทั่วไปสามารถทาที่ผิวหนังได้ แต่ไม่ควรทาบริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก รักแร้ และบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้พ่นที่เสื้อผ้าก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มียากันยุงและกันแดดผสมในขวดเดียวกัน
ด้าน ดร.พญ.ชนิศา เกียรติสุระยานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า สารสังเคราะห์ที่ใช้บ่อยในยาทากันยุงมี 4 ชนิด ได้แก่
1.Diethyltoluamide (DEET) มีกลิ่นฉุน ป้องกันยุงกัดได้ยาวนาน แต่อาจระคายเคืองต่อดวงตาและเยื่อบุ
2.Pica ridin กลิ่นไม่ฉุน ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
3.P-menthane-3,8-diol (PMD) ป้องกันยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ DEET 5-10% แต่สั้นๆเพียง 4-6 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีใช้
4. Ethyl butylacetylaminopropionate (IR3535) มีประสิทธิภาพเทียบเท่า DEET และออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน.
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่