ตะลุยโลกใบใหญ่ สัปดาห์นี้ พี่ม้ามังกร พาไปชมสุดยอดผลงานศิลปะของเมืองไทย ใน นิทรรศการเชิดชูเกียรติครบรอบ 90 ปี “From Orbit To Conversation” โดย อินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ.2542 และทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2548 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้

...

นิทรรศการครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญระดับชาติ ที่กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ร่วมกันนำผลงานของ 2 ศิลปินแห่งชาติ อ.อินสนธิ์ และ อ.ทวี ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนรัก เพื่อนแท้ ที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน มาจัดไว้ในคราวเดียวกัน

ภายในนิทรรศการแบ่งการจัดแสดงไว้ 4 ส่วน ประกอบด้วย ห้องที่ 1 จัดแสดงผลงานที่มุ่งถ่ายทอดมุมมองในเรื่องวิถีชีวิต ผู้คน สังคม ความเชื่อ ผ่านทัศนคติส่วนตัวด้วยสื่อที่แตกต่างกัน โดย อ.อินสนธิ์ ใช้วิธีภาพพิมพ์แกะไม้ อาทิ ภาพสี่พี่น้อง, ฤดูใบไม้ผลิ, ชีวิตอีสาน, เทพีสงกรานต์ ส่วน อ.ทวี ใช้การสร้างภาพปะติดด้วยสมุดข่อย แล้ววาดเส้น หรือ ระบายสีลงไป อาทิ งานเลี้ยงของปีศาจ, ความโหดร้ายของสงคราม, กบกินเดือน นอกจากนี้ ยังมีประติมากรรมที่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ข้ามกาลเวลา ระหว่างงานในอดีตของ อ.ทวี ได้แก่ เทวดาบ้าเขื่อน, คน, งับ และงานในปัจจุบันของ อ.อินสนธิ์ เช่น เรืออวกาศ, สิ่งศักดิ์สิทธิ์

...

ห้องที่ 2 จัดแสดงประติมากรรมแนวตั้งและจิตรกรรมที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก และเนื้อหาเชิงประชด ประชัน แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีผลงานที่สำคัญ อาทิ เมื่อจิตนิ่งสมาธิก็เกิด, อย่าตัดสินต้นไม้ที่กำลังจะเติบโต, จงเรียนรู้กับกฎธรรมชาติให้แตกฉาน, เหลือแต่ตูด, ฝ่าตีน, หน้ามึน

ห้องที่ 3 นำเสนอผลงานแกะสลักไม้แบบนูนต่ำ ประติมากรรม 3 มิติ สื่อผสม แกะไม้ เปลือกหอย ดินเผา มีทั้งผลงาน จงเป็นตัวของตัวเอง ความสุขก็ ตามมา, ยากที่สุดที่จะรู้ใจคน, เหลือแต่ความดีงามไว้ในแผ่นดิน, สึนามิ, ค่ำแล้วจะไปไหนเอย, ลอยอังคาร, หลับใหล

ห้องที่ 4 นำเสนอ ประติมากรรม ผ่านความเป็น “นามธรรม” บริสุทธิ์ ของ อ.อินสนธิ์ และความเป็น “รูปธรรม” ของ อ.ทวี อาทิ ประติมากรรมแกะไม้ อย่าตกเป็นทาสกฎเกณฑ์, บ้าเหรียญตรา, บวชป่า, จุดจบของนักล่า, คอยส่วนบุญ,คนที่ชอบแก้ตัวคือคนที่มีปัญหา, ทางออกของการเดินทางสู่โลกกว้าง, เป็นปลื้ม จิตรกรรม แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง, แผ่นดินธรรม แผ่นดินเงิน.

...

...

คลิกอ่านคอลัมน์ “ตะลุยโลกใบใหญ่” เพิ่มเติม