นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อให้สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) การดำเนินโครงการ ปี 2567 รอบ 6 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2566 ถึง มีนาคม 2567 พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติงาน โดยอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการขอรับรองตรามาตรฐาน GI การส่งเสริมการตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้า การเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานไปแล้ว 3,438 ราย หรือร้อยละ 58.73 ของเป้าหมาย และจะดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อให้มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าและขอรับรองมาตรฐาน GI ให้ครบตามเป้าหมาย

และจากการติดตามผลลัพธ์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 4 กลุ่ม ในพื้นที่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรบ้านนาอุดม (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) จ.เลย 2) กลุ่มแปลงใหญ่มะขามตำบลวังบาล (มะขามหวาน) จ.เพชรบูรณ์ 3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรกล้วยไข่ตำบลท่าพุทธา (กล้วยไข่) จ.กำแพงเพชร และ 4) กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวไร่ (ข้าวเหนียวซิวเกลี้ยง) จ.เลย พบว่า หลังเข้ารับการส่งเสริมองค์ความรู้ เกษตรกรทุกรายมีความรู้เพิ่มขึ้น โดยก่อนเข้ารับการ อบรมมีความรู้ระดับปานกลาง และหลังอบรมมีความรู้ระดับมากที่สุด เกษตรกรทุกรายนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

...

“สำหรับปริมาณการผลิต ราคา และรายได้ของเกษตรกร เปรียบเทียบก่อนเข้าร่วมโครงการ กับหลังเข้าร่วมโครงการ เราพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวานที่ได้รับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สามารถจำหน่ายมะขามหวานได้ราคาสูงขึ้น ได้ราคาเฉลี่ย กก.ละ 86.88 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.11 ส่งผลให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 4,103 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.24 ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ที่ได้รับรองมาตรฐาน (GI) หลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกร จำหน่ายกล้วยไข่ได้ราคาเฉลี่ย กก.ละ 22.17 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 ส่งผลให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการมีรายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 3,816 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.86 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวซิวเกลี้ยง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หลังเข้าร่วมโครงการสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น ได้ราคาเฉลี่ย กก.ละ 43.33 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18”

ส่วนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าไหม/ผ้าฝ้าย รองเลขา ธิการ สศก. เผยว่า ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการขอรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทานสีทองน้อย เนื่องจากเกษตรกรจะทอผ้าเป็นอาชีพเสริม หลังเวลาว่างจากการทำเกษตร และจำหน่ายภายในชุมชน กรมหม่อนไหมจะรณรงค์สร้างความเข้าใจให้เกษตรกรในการขอรับรองมาตรฐานฯ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผ้าไหมให้สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรด้วยต่อไป.

ชาติชาย ศิริพัฒน์

คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม