ผลการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...ขณะนี้ใกล้จะสิ้นสุดช่วงฤดู ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ 45,099 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 55% ของความจุ น้อยกว่าเมื่อปีที่แล้วอยู่ 2%

นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ประเทศไทยจะมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติจากอิทธิพลของสภาวะเอลนีโญ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางแผนกักเก็บน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง มีแนวโน้มของปริมาณฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ค. เป็นต้นไป

และคาดว่า ฤดูฝนที่จะกำลังจะมาถึง ประเทศไทยจะประสบกับสภาวะลานีญา และมีความเป็นไปได้จากสถิติในเบื้องต้นว่ามีแนวโน้ม ที่ประเทศไทยจะมีพายุ 1-3 ลูก ในปีนี้

อย่างไรก็ตาม มีอ่างเก็บน้ำบางแห่งที่มีปริมาณน้ำน้อย โดยเป็นอ่างฯ ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนกระเสียว เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนจุฬาภรณ์ รวมถึงอ่าง ขนาดกลางอีก 85 แห่ง

ประกอบกับยังคงต้องมีการสำรองปริมาณน้ำไว้สำหรับช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากมีโอกาสเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงได้

...

จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว ให้งดปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 เพื่อป้องกันปัญหาความเสี่ยงขาดแคลนน้ำซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร

สำหรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง มีพื้นที่ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ และบุรีรัมย์ ปีนี้ถือว่าภัยแล้งไม่ได้ขยายวงกว้างนัก ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภค.

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม