ราวๆสองปีมาแล้ว “หมอดื้อ” สะท้อนความจริงเกี่ยวกับอาการโรคสมองเสื่อมเอาไว้ว่า อาการผู้ป่วย “โรคสมองเสื่อม” ไม่ได้มีเพียงการหลงลืมอย่างเดียวเท่านั้น

หมอดื้อ” หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกอีกว่า คนที่มีสมองเสื่อม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอัลไซเมอร์ หรือเกิดขึ้นจากการติดเชื้อบางชนิด ไม่ได้แสดงอาการแต่ในเรื่องการหลงลืมอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ยังแสดงอาการในลักษณะของการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมจนกระทั่งถึงการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสม..การดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องบอกให้ครอบครัวและผู้ดูแลรับทราบถึงพฤติกรรมที่แปรปรวน และเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้

ผ่านมาถึงวันนี้ “ประเทศไทย” เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ที่ต้องรับมือกับการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงวัย โดยเฉพาะ “โรคอัลไซเมอร์”เป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมในวัยชราอายุ 60 ปีขึ้นไปที่นับวันจะมีแนวโน้มพบมากขึ้น..คาดคะเนกันว่าอีก 10 ปีข้างหน้านั้น “ผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มขึ้นหลายล้านคน”

...

ในกลุ่มผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดได้ถึง 1 ใน 10 และกลุ่มอายุ 85 ปี มีโอกาสเสี่ยง 1 ใน 3 ที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม..กลายเป็นปัญหาใหญ่ให้ครอบครัวทำงานนอกบ้าน “ทิ้งผู้สูงอายุอยู่บ้านลำพัง” อาจเกิดการบาดเจ็บกะทันหัน นำไปสู่ภาวะติดเตียงตามมา

ในช่วงการระบาด “โควิด-19” มีการศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อทั้งแสดงอาการและไม่แสดงอาการ “เมื่อหายป่วยหลายคนต้องเผชิญกับอาการลองโควิด” โดยเฉพาะบางคนกลับพบอาการลักษณะของโรคสมองเสื่อมภายหลังจากการติดเชื้อใน 80-100 วัน

ยกตัวอย่างเช่น “ตัวเองติดเชื้อโควิดเมื่อเดือน มิ.ย.2565” มีอาการหลงลืมบ่อยทำให้ต้องเจาะเลือดตรวจหลังหายป่วย 88 วัน “ผลการตรวจพบว่ามีอาการอัลไซเมอร์โผล่ขึ้นในสมอง” อันเป็นการปรากฏภาวะแทรกซ้อนจากลองโควิดในระยะยาว

สิ่งนี้..เป็นผลรู้ล่วงหน้าอันเป็นความท้าทายต่อการหยุดยั้งโรคนี้ให้ได้ต่อไป

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

เช่นเดียวกับ “ฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นสาเหตุให้สมองเสื่อม” เพราะฝุ่นพิษแทรกซึมเข้าเลือดกระจายไปทุกส่วนในร่างกาย “ก่อให้เกิดการอักเสบอวัยวะ” กลายเป็นโรคทางหัวใจ โรคมะเร็ง และสมองเสื่อมตามมาด้วย

อีกความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ เป็นความคืบหน้าทางข้อมูลวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือ...ทำไม? เกิดโรค “สมองเสื่อม” เพิ่มขึ้นอย่างมากและรุนแรงแม้อายุน้อยก็ตาม

ในประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและโรคอุบัติใหม่ติดตามผู้ที่เป็นลองโควิดและลองวัคซีนประมาณร้อยราย..นานกว่าหนึ่งปี พบโปรตีนสมองเสื่อมและการทำลายสมอง ในอายุ 30 และ 40 กว่าปี แม้แทบจะไม่มีอาการ ทั้งนี้..ต้องคำนึงถึงการหาทาง “ถอนพิษ” โดยเร็ว

เพราะการ “ลดการอักเสบ” จะเป็นเพียงการบรรเทาและชะลอ ต้องหาทางตรงเป้า..ต้นตอ

บทความความรู้ต่อจากนี้ นพ.ดร.ชลธวัช ทางระบบภูมิคุ้มกัน (ดร.นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ โรงพยาบาลเมดพาร์ค) เรียบเรียงมาจากคณะผู้วิจัยที่มีชื่อในวารสาร cereus เครือ Nature และความเกี่ยวพัน กับการก่อตัวของ amyloid protein ซึ่งเป็น misfolded protein

เฉกเช่นใน prion..โปรตีนขนาดเล็กในโรคสมองเสื่อมแบบต่างๆ และพาร์กินสัน และนวัตกรรม..แท่งเลื้อยดุในหลอดเลือด เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน (นวัตกรรมเลื้อยดุ จากรายงานของ Prof. Arne Burkhardt และรายงานในคนป่วยมีชีวิต นสพ.ไทยรัฐ คอลัมน์สุขภาพหรรษา 2 ตอน)

รายละเอียดข้อมูลวิชาการมีดังนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่า ความเกี่ยวข้องระหว่าง spike protein จาก mRNA covid vaccine กับโรคสมองเสื่อม (neurodegenerative diseases)

...

น่าสนใจว่า “Spike protein” ที่สร้างจาก “mRNA covid vaccine” มีลักษณะการเรียงตัวของกรดอะมิโนคล้าย prion (prion-like protein) สามารถถ่ายทอดไปสู่เซลล์ประสาท (neuron) ทำให้เกิดการทำลายเซลล์และการเสื่อมของระบบประสาท (neurodegeneration) ได้จากหลายกลไก เช่น

หนึ่ง..Cross-seed ร่วมกับ amyloidogenic human protein ที่มีอยู่แล้ว เช่น Tau, alpha-synuclein ทำให้เร่งการเกิด fibril formation

สอง..RBD ของ S1 segment ของ spike protein ไปจับกับ heparin และกลุ่ม amyloidogenic heparin-bindingproteins เช่น Tau, alpha-synuclein, amyloid beta, TDP-43 ทำให้เกิด mitochondrial oxidative stress, apoptosis, neurodegeneration

Prof. Luc Montagnier (ผู้พบ HIV) และคณะได้รายงานผู้ป่วย 26 ราย ซึ่งมีอาการป่วยหนักจากโรค CJD (Creutzfeldt-Jakob disease) หรือ กลุ่มโรคทางสมอง..“โรคสมองฝ่อ” หลังจากได้รับวัคซีนโควิด โดย 23 รายมีอาการหลังฉีด mRNA vaccine เข็มที่ 2 ได้ 15 วัน

...

ส่วนอีก 3 รายได้รับ AstraZeneca DNA vector vaccine และมีอาการภายในเดือนแรก

ประเด็นสำคัญมีว่า..ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตหลังป่วยได้ 5 เดือน จากวัคซีน โดยปกติแล้ว CJD เป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ ดังนั้น..อุบัติการนี้จึงมีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนชัดเจน

สมมติฐานคือ spike protein และ prion protein มีลักษณะคล้ายกันมาก (molecular mimicry) ใน spike protein จะมีลำดับกรดอะมิโน YQAGS ซึ่งใกล้เคียงกับ sequence บริเวณ C-terminal domain ของ prion protein มาก ซึ่งก็คือ YQRGS ต่างกันแค่ A กับ G

ดังนั้น autoAb ต่อ spike protein นี้ จึงไปขัดขวางการ transport ของ prion protein เข้าสู่ endoplasmic reticulum เป็นสาเหตุของ aggressive form ของโรค CJD

Spike protein จาก mRNA vaccine สามารถถ่ายทอดผ่านทาง exosome ได้เช่นเดียวกับ prion protein หรือ misfolded protein จึงสามารถส่งต่อให้กับเซลล์ผู้รับซึ่งอยู่ไกลได้..ในแง่ของ innate immunity พบว่า spike protein ไม่ว่าจะจาก covid virus หรือ mRNA vaccine สามารถกระตุ้น TLR-4 ใน neuron และเกิดการอักเสบตามมา นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีการเพิ่มของ miR-146a (micro RNA-146a)

...

ผลตามมาคือ มีการสะสมของเทาว์โปรตีน (Tau) ซึ่งเป็นสาเหตุของ..โรคอัลไซเมอร์

ถึงตรงนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ย้ำว่า ภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่ฉีด mRNA vaccine เข้าไปสู่ร่างกาย macrophage และ antigen-presenting cell นำเอาโปรตีนส่วนหนามไปสู่ต่อมน้ำเหลือง มีการสร้างเพิ่มขึ้นและมีการหลั่งกลุ่มโปรตีนขนาดเล็ก..cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ..ไปตามระบบประสาท ส่งไปถึงสมอง

จนทำให้เกิดพยาธิสภาพของ..การเสื่อมของระบบประสาทต่างๆ

ดังนั้น ในอนาคตถ้าพบผู้ป่วย “โรคสมองเสื่อม” เพิ่มขึ้นมากกว่า เดิมชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด.

คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า 1” เพิ่มเติม