หลังกองบังคับการตำรวจรถไฟถูกยุบเลิกตามแนวทางการ “ปฏิรูปตำรวจ” ทั้งที่การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการเข้ามาดูแลความปลอดภัยผู้โดยสารบนขบวนรถไฟทุกเส้นทางทั่วประเทศ

กลายเป็นความต้องการเรียกร้องของพี่น้องประชาชนผู้โดยสารบนรถไฟถามถึงความปลอดภัยขณะเดินทาง อยากเห็นตำรวจอยู่บนรถไฟ ร้องขอให้มีตำรวจรถไฟดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารบนขบวนรถไฟเช่นเดิม

อุ่นใจเวลาเดินทาง

เป็นที่มาของ ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้ง “ศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ตำรวจสอบสวนกลาง” หรือ ศปรฟ.บช.ก. “Center of Crime Prevention and Suppression on Railway” (CCPSR) ดูแลความปลอดภัยบนขบวนรถไฟโดยสาร 30 ขบวนต่อวัน

เป็นนโยบาย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ที่อยากเห็นความปลอดภัยพี่น้องประชาชนทุกมิติ สั่งให้ตั้งศูนย์ขึ้นตามความต้องการของประชาชนที่เดินทางบนรถไฟ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ประสานขอความอนุเคราะห์ตำรวจขึ้นปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยบนขบวนรถโดยสาร

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ทำหน้าที่ในศูนย์ดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม การกระทำผิดและอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ดูความปลอดภัยประชาชนบนขบวนรถไฟ

โดยเฉพาะขบวนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม 30 ขบวนต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นขบวนรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-หนองคาย) และสายใต้ (กรุงเทพฯ-หาดใหญ่)

ประสานความร่วมมือด้านข้อมูลการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์อาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนขบวนรถไฟ จับกุมบุคคลตามหมายจับ

ผบช.ก. นำเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมใหม่ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

ดูแลผู้โดยสารบนขบวนรถไฟ

...

ตำรวจสอบสวนกลาง ประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดบนขบวนรถไฟได้ที่เพจ “ศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ศปรฟ.บช.ก.)”

เปิดศูนย์ขึ้นมาเพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางบนขบวนรถไฟทั่วประเทศ

แม้หน่วยงาน “ตำรวจรถไฟ” ถูกยุบ แต่ด้วยหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและความห่วงใยพี่น้องประชาชนมีเหมือนเดิม เมื่อประชาชนเรียกร้องเข้ามามาก ตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมเข้ามาช่วยเหลือทันที

เสมือนว่า... ตำรวจรถไฟกลับมา ผู้โดยสารบนขบวนรถไฟอุ่นใจ.

“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ "เลขที่1 วิภาวดีฯ" เพิ่มเติม