“พื้นที่ 8 จังหวัด สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพ มหานคร และปทุมธานี มีปริมาณฟางข้าวโดยรวมประมาณ 2.48 ล้านตัน เราพบว่า มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจ้างอัดก้อนฟางข้าวเพื่อจำหน่าย ร้อยละ 83.17 เก็บฟางข้าวที่อัดก้อนไว้ใช้ประโยชน์เอง ร้อยละ 16.83 ทำให้เกษตรกรที่จำหน่ายฟางข้าวอัดก้อนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายละ 278.19 บาท/ไร่/รอบการผลิต”

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลศึกษาการ บริหารจัดการ “ฟางข้าว” ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง โดยเก็บข้อมูลจาก 3 กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ ผู้ประกอบการแปรรูป/ผู้รวบรวมของแต่ละจังหวัด และผู้ใช้ประโยชน์จากฟางข้าว 235 ราย

...

เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการฟางข้าว ตามแนวทาง BCG Model (Bio Circular Green Economy) ที่มุ่งเน้นการบริหารจัด การทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ส่วนการใช้ประโยชน์และการเพิ่มมูลค่าจากฟางข้าว มีกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวที่ให้บริการอัดก้อนฟางข้าวและรับซื้อฟางข้าวอัดก้อนจำหน่ายต่อให้ผู้ใช้ประโยชน์ร้อยละ 61.01 จำหน่ายให้กับผู้ใช้ประโยชน์ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 33.83 และภาคใต้ ร้อยละ 5.16

โดยผู้ประกอบการแปรรูป/ผู้รวบรวมฟางข้าว รับซื้อฟางอัดก้อนจากเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งในลักษณะเหมาไร่ ราคา 80-150 บาท/ไร่ หรือจ่ายให้เกษตรกร ตามจำนวนก้อนที่อัดได้ ราคาก้อนละ 5-12 บาท/ก้อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ส่วนใหญ่จะนำฟางอัดก้อนไปเลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ร่วมกับพืชอาหารสัตว์ หรืออาหาร TMR สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารสัตว์ โคเนื้อและกระบือเฉลี่ย 9.95 บาท/ตัว/วัน หรือลดลงร้อยละ 36 ส่วนการเลี้ยงโคนมช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์เฉลี่ย 31.91 บาท/ตัว/วัน หรือลดลงร้อยละ 78

นอกจากนี้มีการนำฟางข้าวไปเป็นวัสดุคลุมดินทดแทนพลาสติกสำหรับคลุมแปลงปลูกพืชผัก หรือไม้ผล สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,299.55 บาท/ ไร่/รอบการผลิต หรือลดลงร้อยละ 51 นำไปเป็นอาหารปลาในรูปแบบคอนโดอาหารปลาหรือแซนด์วิชอาหารปลา เพื่อให้เกิดไรแดง หนอนแดง หรือแพลงก์ตอน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารปลาสำเร็จรูปได้เฉลี่ย 834.96 บาท/บ่อ/ รอบการผลิต หรือลดลงร้อยละ 58

นำไปใช้เป็นปุ๋ยหมักในนาข้าวและแปลงผักทดแทนปุ๋ยเคมี สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เฉลี่ย 482.28 บาท/ไร่/รอบการผลิต ลดลงร้อยละ 70 นำฟางอัดก้อนไปแปรรูปเป็นถุงกระดาษใส่ของ กระถางต้นไม้ย่อยสลายได้ แผงไข่ ปอกสวมแก้ว ที่รองแก้ว สามารถสร้างรายได้เพิ่มเฉลี่ย 632.44 บาท/ก้อน.

...

ชาติชาย ศิริพัฒน์

คลิกอ่าน "ข่าวเกษตร" เพิ่มเติม