ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (19-22 ก.ย.66) เป็นอีกครั้งที่ตัวแทนของ “ประเทศไทย” ได้หยิบยกประเด็นด้านสุขภาพ...“ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”...ขึ้นมาพูดคุย นับตั้งแต่ประเด็นสำคัญเรื่อง...“วัคซีน”

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แสดงจุดยืนว่า ประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญต่อประเด็นความเสมอภาคของวัคซีนและการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อปรับปรุงความมั่นคงของวัคซีน นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพในการผลิตในระดับประเทศ

“เพื่อการพึ่งพาวัคซีนภายในประเทศ เรามีความตั้งใจที่จะร่วมมือ กับอาเซียนในทุกด้านของความมั่นคงด้านวัคซีน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของอาเซียนด้วย”

ถัดมาในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการ ป้องกันการเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อ “การระบาดใหญ่ (PPPR)” ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลง...เรียกร้องให้โลกลงทุนมากขึ้น

...

เพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งเร่งเจรจาจัดทำตราสารระหว่างประเทศสนธิสัญญาการระบาดใหญ่ในประเด็นนี้ ภายใต้องค์การอนามัยโลกและพัฒนาความร่วมมือด้านการป้องกัน เตรียมพร้อม

มุ่งหมายตอบสนอง “โรคระบาด” อย่างสร้างสรรค์และมีสำนึกต่อส่วนรวม

“ประเทศไทยมีจุดยืนสนับสนุนให้เพิ่มการลงทุนในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในช่วงเวลาปกติและภาวะฉุกเฉิน เพราะหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นเครื่องรับประกันว่าระบบสุขภาพจะให้ความคุ้มครองทางสังคม ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและรักษาความเสมอภาคด้านสุขภาพ”

ที่สำคัญยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาโดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง “ภาครัฐ” และ “เอกชน” ในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการดูแลสุขภาพ

รวมถึงความสำคัญของการรับรองข้อตกลงที่เข้าถึงได้และเป็นข้อสรุป สำหรับการป้องกันการระบาดใหญ่ผ่านการสร้างสนธิสัญญาการระบาดใหญ่ และการแก้ไขกฎอนามัยระหว่างประเทศ ภายใต้องค์การอนามัยโลกและเรียกร้อง ให้มีกระบวนทัศน์ใหม่ของความร่วมมือหลังสถานการณ์โควิด-19

นั่นก็คือความจำเป็นในการจัดหาเงินทุนด้านสุขภาพ ด้านนวัตกรรม ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

(จากซ้ายไปขวา) นพ.นิติ เหตานุรักษ์,นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี,นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์,ปานปรีย์ พหิทธานุกร
(จากซ้ายไปขวา) นพ.นิติ เหตานุรักษ์,นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี,นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์,ปานปรีย์ พหิทธานุกร

บทสรุปในอีกเวทีคู่ขนาน...การประชุมระดับสูงเพื่อเฉลิมฉลองความก้าวหน้าด้านเอชไอวีระดับโลกเพื่อการยุติเอดส์และบรรลุเป้าหมาย SDGs ซึ่งประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์อย่างมุ่งมั่นที่จะยุติปัญหาเอดส์ ภายในปี 2573 โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหา เอดส์ พ.ศ.2560-2573

โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ “ไม่ติด-ไม่ตาย-ไม่ตีตรา” หนึ่ง... ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เหลือไม่เกิน 1,000 รายต่อปี สอง...ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี เหลือปีละไม่เกิน 4,000 ราย สาม...ลดการ เลือกปฏิบัติ อันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงจากเดิมร้อยละ 90

...

ซึ่งจะดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายโลกให้บรรลุ 95-95-95 ในปี 2573

ประเด็นเร่งดำเนินการ นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้ว่าแนวโน้มอุบัติการณ์ “วัณโรค” ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาของไทยลดลง แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งจัดการและแก้ไขการแพร่ระบาด ซึ่งได้มีการปรับกระบวนการค้นหา...รักษาโดยใช้วิธีการตรวจทาง โมเลกุลที่รวดเร็วและมีความไว

รวมถึงสนับสนุนให้มีการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ...ประเมินความไว ต่อยาไปพร้อมๆกันเพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งเป้า ว่าจะยุติวัณโรคให้ได้ภายในปี พ.ศ.2578 โดยใช้กลไกของระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรคในไทย

ประสบการณ์ของไทยในการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความจำเป็นของการลงทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ...ความเป็นอยู่ที่ดี และต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างๆ

พร้อมใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและสิทธิเข้าถึงการรักษา ให้คำมั่นว่าไทยจะยกระดับ “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการ ขยายสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การดูแลแบบประคับประคอง

...

นับรวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวกของบริการสุขภาพในทุกระดับให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้ประชาชนไทยได้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อย่างแท้จริง

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้าร่วมการอภิปรายในหัวข้อ พัฒนาและปรับการลงทุน ของเรา เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกหลังโควิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บอกว่า

“ประเทศไทย”...ได้บรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่งผล ให้รายจ่ายสุขภาพที่ประชาชนต้องจ่ายด้วยตนเอง (Out of pocket : OOP) ลดลงน้อยกว่า 10% ของรายจ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด และมีครัวเรือนเพียง 1.5% เท่านั้นที่ประสบปัญหาล้มละลายทางการเงิน เนื่องจากค่ารักษาพยาบาล

ยกตัวอย่างกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสมทบกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการเงินการคลังด้านสาธารณสุขเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและหน่วยบริการสาธารณสุขในระดับชุมชน

...

...ได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะใช้ “เงินกองทุน” เพื่อพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขในแต่ละท้องถิ่นอย่างไร ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆและสนับสนุนให้ประเทศต่างๆพัฒนา ปรับการลงทุน ด้านสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นไปที่การ “กระจายอำนาจ” ให้กับท้องถิ่น เช่นเดียวกับประเทศไทย

หัวข้อ “ความสำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิและแนวทางในการ สนับสนุน” นพ.พงศ์เกษม ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยกตัวอย่างจากกรณีการระบาดของโควิด-19

“ทำให้ไทยพัฒนานวัตกรรมบริการสาธารณสุขวิถีใหม่...นิวนอร์มอล ที่นำไปสู่มิติใหม่ของการให้บริการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นบริการการแพทย์ทางไกล การดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วย อสม. การรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน การเจาะเลือด...ตรวจแล็บที่ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่และนอกหน่วยบริการ”

นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน แน่นอนว่าการจะ บรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ประเทศต่างๆจำเป็นต้อง ลงทุนอย่างเพียงพอในระบบสาธารณสุขและพัฒนากลไกทางการเงิน... การคลังด้านสาธารณสุขให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งการมีระบบสุขภาพปฐมภูมิในรูปแบบใหม่

เน้นให้ “ประชาชน” เป็นศูนย์กลางการให้บริการและ...“ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

คาดหวังและจำเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและนานาประเทศจะพัฒนา ปรับการลงทุนด้านสุขภาพไปสู่ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่มีความยืดหยุ่น เท่าเทียมกันและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น.

คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า 1” เพิ่มเติม