คำว่า “ยั่งยืน” ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้บ่อยครั้งในระยะหลัง ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ไปจนถึงองค์กรเอกชนต่างๆ ที่มุ่งหน้าสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน แต่คำถามคือ “ยั่งยืน” เป็นเพียงคีย์เวิร์ดสำคัญ หรือเป็นการลงมือทำอย่างตั้งใจ วันนี้ตัวอย่างจากการเดินทางของ OR น่าจะช่วยตอบคำถามนี้ได้ดีว่า การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนคือการลงมือทำอย่างจริงจัง และการก้าวเดินอย่างมีทิศทาง ก็ทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมด้วย ทั้งนี้ OR ได้ขับเคลื่อนผ่านแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่เรียกว่า “OR SDG” (Small, Diversified, Green) ซึ่งเป็นการเดินหน้าไปพร้อมกับทั่วโลกตามแนวทาง “ESG” (Environment, Social, Governance) ที่จะทำให้คำว่า “ยั่งยืน” เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
จุดเริ่มของการเติบโตที่ยั่งยืน
ESG หรือที่ย่อมาจากคำว่า Environment, Social, และ Governance เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่เป็นมากกว่าแค่การแสวงหาผลกำไรระยะสั้น แต่หมายถึงการมองรอบด้านเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว ในมุมหนึ่ง ESG จึงเป็นอีกแนวคิดและแนวทางที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนทั่วโลกอีกด้วย
สำหรับ OR แล้ว ถือได้ว่าเป็นองค์กรต้นแบบ และเป็นองค์กรกลุ่มแรกในประเทศไทย ที่มีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จครบทั้ง 3 มิตินี้ ทั้งทางสังคม (People – Living Community) สิ่งแวดล้อม (Planet – Healthy Environment) และผลการดำเนินการ (Performance – Economic Prosperity) ซึ่งสอดรับไปกับแนวทางของ ESG (Environment, Social, Governance) ที่ทั่วโลกต่างกำลังเดินหน้าไปพร้อมกันด้วย โดยกำหนดเป็นพันธกิจหลัก 4 เรื่อง ได้แก่
1. Seamless Mobility การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ
2. All Lifestyles การสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจร เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ
3. Global Market การขยายฐานธุรกิจ เพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก
4. OR Innovation การแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับของ โออาร์
ทั้งนี้ OR ได้กำหนดเป็นแนวทางที่เรียกว่า OR SDG เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจผ่านคำ 3 คำที่มีความหมายยิ่งใหญ่และครอบคลุม นั่นคือ S – SMALL ที่หมายถึงการสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก, D – DIVERSIFIED กับการสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G – GREEN คือการเดินหน้าเพื่อสังคมสะอาด ผ่านการส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทของ OR ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาสั้น (Quick Win) ผ่านการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง
ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นจากความตั้งใจ
ความน่าสนใจคือ OR SDG สัมพันธ์ไปกับ ESG ที่ไม่ใช่เพียงแค่หลักการ แต่เป็นลงมือทำจริงจนเกิดผล และเรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับให้องค์กรอื่นๆ ยึดถือเป็นแนวทางได้เช่นกัน
S – SMALL
SMALL คือสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ผ่านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจและหลายคนจดจำได้ดี เช่น Café Amazon for Chance ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการทางการได้ยิน ผู้พิการทางการเรียนรู้ ผู้สูงอายุ ผู้พิการทหารผ่านศึก คนไร้ที่พึ่ง จนถึงกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาความยากจน ให้มีรายได้จากการทำงานในร้าน Café Amazon for Chance ที่เปิดให้บริการแล้วกว่า 122 สาขา
นอกจากนี้ยังมีโครงการคัดสรรสินค้าดีและเด่นในท้องถิ่นจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและ SMEs มาวางจำหน่ายในมุมไทยเด็ดและร้านค้าไทยเด็ดในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ผ่านโครงการไทยเด็ด ไปจนถึงโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตรที่ถือเป็นต้นน้ำของธุรกิจอย่างน่าสนใจ อาทิ โครงการส่งเสริมการผลิตพืชอินทรีย์ และ โครงการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟคุณภาพ ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
D – DIVERSIFIED
DIVERSIFIED คือการสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็นแพลตฟอร์มในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งได้เห็นมากขึ้นจากธุรกิจที่ OR เข้าไปจับมือร่วมกันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซักแบรนด์ Otteri Wash & Dry ที่ให้บริการเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม, ร้าน Pacamara แบรนด์ร้านกาแฟ Specialty Coffee, โอ้กะจู๋ แบรนด์ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ, ONO Sushi แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่น และ Kamu แบรนด์ชานมไข่มุกสัญชาติไทย
นอกจากนี้ยังได้ร่วมลงทุนและร่วมเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัป และ SME ช่วยต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย โดยอาศัยจุดเด่นของแต่ละฝ่ายมาเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน พร้อมกันนั้นยังเติมโอกาสให้กับสตาร์ตอัป โดยวันนี้ได้เข้าร่วมลงทุนและให้คำปรึกษาแก่บริษัท Hackathon รวม 100 รายทั่วประเทศ ได้แก่ Pomelo แพลตฟอร์มและแบรนด์แฟชันชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Carsome แพลตฟอร์มซื้อ-ขาย รถยนต์มือสองออนไลน์ และ Freshket แพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบครบวงจร เป็นต้น
G – GREEN
GREEN คือการสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด ผ่านการส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทของ OR ให้เป็นธุรกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนและบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 ตลอดจนมุ่งสู่การบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593 ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือ การเดินหน้าตอบสนองต่อทิศทางการใช้พลังงานสะอาด ผ่านการออกแบบระบบนิเวศสำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า โดยการขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Station PluZ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ และวางเป้าหมายว่าภายในปี 2573 จะเปิดให้บริการทั้งในและนอกสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น อีกกว่า 7,000 หัวชาร์จ (DC Fast Charger)
แต่การเดินทางเพื่อสังคมสะอาดของ OR เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หลายโครงการคุ้นหูและประชาชนก็มีส่วนร่วมมาโดยตลอดด้วย อาทิ โครงการ แยก แลก ยิ้ม ตั้งจุดแยกขยะในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น เพื่อรวบรวมขยะที่สามารถ Reuse และ Recycle ได้ไปขาย และนำเงินที่ได้จากการขายขยะไปสร้างประโยชน์ต่อ กับอีกส่วนหนึ่งได้ต่อเนื่องนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า ในโครงการ Café Amazon Circular Living ที่ผลิตเป็นวัสดุตกแต่งร้านในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการนำวัสดุใช้แล้วภายในร้าน Café Amazon และโรงคั่วกาแฟ มาผ่านกระบวนการ Upcycling รวมถึงการนำขวด PET มาย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ผ่านกระบวนการทำเป็นเส้นใยฟูการตัดเย็บผ้ากันเปื้อนของบาริสต้า รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้าน เป็นต้น
วันนี้การเดินหน้าเพื่อการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ตามหลักการ ESG จึงไม่ได้เป็นเพียงแนวคิด แต่เกิดขึ้นจริง และการถอดบทเรียนการเดินทางจากองค์กรต้นแบบอย่าง OR ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้วยแนวคิด OR SDG ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นด้วยว่า หากเริ่มต้นจากการพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว โอกาสในการสร้างการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน ก็อาจอยู่ไม่ไกล