มทร.อีสาน ชูโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระบบนิเวศอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับมาตรฐานในการประกอบอาชีพ

วันที่ 29 ส.ค. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง) ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระบบนิเวศอุตสาหกรรม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ และมีอาจารย์ นักศึกษา เข้าร่วม

สำหรับโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับสมรรถนะมาตรฐานในการประกอบอาชีพของบุคลากรในระบบนิเวศอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐาน สร้างฐานข้อมูลบุคคลสำหรับรองรับการพัฒนาทักษะ พัฒนาตนเอง การฝึกอบรม การมีงานทำ การศึกษาต่อในแพลตฟอร์มข้อมูลแรงงาน E-Workforce Ecosystem Platform และสร้างโอกาสการเข้าสู่กลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เข้ารับการประเมิน สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ผู้ใช้บริการ และเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ผ่าน Application "ปักหมุดมืออาชีพ"

โดยผู้ที่ผ่านการประเมินสมรรถนะสามารถที่จะได้รับโอกาสในการหางานผ่าน Application "ปักหมุดมืออาชีพ" และเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ของประเทศ และบุคลากรที่จะเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

...

ซึ่งโครงการได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบและความคาดหวังในการดำเนินโครงการโดยทำการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อม จากหลายหน่วยงานและหลากหลายอาชีพ ตลอดจนได้นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์นั้นมาจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมใน 4 อาชีพ เพื่อให้มีการเชื่อมโยงในระบบนิเวศการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม มีทั้งอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาระดับ 5, อาชีพครูฝึกในสถานประกอบการระดับ 4, อาชีพช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือระดับ 2 และอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติระดับ 1

พร้อมทั้งการจัดสอบประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพดังกล่าว ซึ่งในโครงการมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและสอบประเมินจำนวน 324 คน จากหลากหลายอาชีพและหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักศึกษา ซึ่งแยกเป็นอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาระดับ 5 จำนวน 81 คน และผ่านการรับรองมาตรฐาน 70 คน คิดเป็น 86.42 เปอร์เซ็นต์ อาชีพครูฝึกในสถานประกอบการระดับ 4 จำนวน 38 คน ผ่านการรับรองมาตรฐาน 26 คน คิดเป็น 68.42 เปอร์เซ็นต์ อาชีพช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือระดับ 2 จำนวน 20 คน ผ่านการรับรองมาตรฐาน 16 คน คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ และอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติระดับ 1 จำนวน 185 คน ผ่านการรับรองมาตรฐาน 148 คน คิดเป็น 79.92 เปอร์เซ็นต์

ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมและรับรองมาตรฐานนั้นยังได้รับโอกาสในการหางานผ่านทาง Application "ปักหมุดมืออาชีพ" และเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ของประเทศ และบุคลากรที่จะเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุมสัมมนาเพื่อบรรยายสรุปการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระบบนิเวศอุตสาหกรรม ซึ่งทางวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน ได้เป็นผู้ดำเนินโครงการ  มีการจัดเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องในหัวข้อเรื่อง "การบูรณาการระบบนิเวศการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม" และยังมีการประชาสัมพันธ์โครงการจัดแพลตฟอร์มข้อมูลแรงงาน E-Workforce Ecosystem Platform และสร้างโอกาสการเข้าสู่กลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เข้ารับการประเมิน สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ผู้ใช้บริการ และเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ผ่าน Application "ปักหมุดมืออาชีพ" โดยวิทยากรจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งมีการมอบใบประกาศการอบรมให้แก่ผู้ที่ได้รับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพทั้ง 4 อาชีพ เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ผู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานต่อไป.