ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ.2566-70 มีวิสัยทัศน์ ให้ไทยเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการผลิต แปรรูป และสร้างคุณค่า มูลค่าทางเศรษฐกิจจากสับปะรดอย่างยั่งยืน
โดยมีเป้าหมาย 1) พื้นที่ปลูกที่ได้รับการส่งเสริมระบบน้ำเพิ่มขึ้นปีละ 1,000 ไร่ แปลงสับปะรดผ่านการตรวจรับรอง GAP เพิ่มขึ้นร้อยละ 92 ปรับพื้นที่ตาม Agri-map เพิ่มขึ้นปีละ 2,000 ไร่ 2) ผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี 3) มูลค่าการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 1.5 ต่อปี และ 4) รายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนพัฒนาสับปะรดฯ ปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมด 20 โครงการ 16 กิจกรรม
บรรลุเป้าหมายแล้ว 7 โครงการ 2 กิจกรรม อาทิ โครงการตรวจรับรองแปลง GAP สับปะรด โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กิจกรรมพัฒนากลุ่มเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (สับปะรด)
โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ระบบรับรองมาตรฐาน GAP โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ และกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดคุณภาพ
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ 13 โครงการ 14 กิจกรรม
สำหรับสถานการณ์การผลิตสับปะรดในปี 2566 คาดว่ามีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 385,646 ไร่ ผลผลิตรวม 1.454 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,771 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.78 ร้อยละ 15.16 และร้อยละ 1.59 ตามลำดับ
เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง เนื่องจากเกษตรกรได้ลดพื้นที่ปลูก จากปัญหาต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยและสารเคมี และปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางพื้นที่ ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จังหวัดที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวสับปะรดโรงงานมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ 146,980 ไร่ (38.11%) ราชบุรี 26,783 ไร่ (6.95%) พิษณุโลก 24,707 ไร่ (6.41%) ระยอง 19,806 ไร่ (5.14%) และเชียงราย 19,605 ไร่ (5.08%)
...
สะ-เล-เต