ไอออน (AION) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัท โกลด์ อินทิเกรท (GOLD INTEGRATE) ของประเทศไทย โดยมีผู้นำรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมเป็นสักขีพยาน สำนักงานใหญ่แห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นฐานบัญชาการธุรกิจของไอออนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะมีจุดติดต่อในพื้นที่พร้อมกับอุปกรณ์ครบครัน และมีบทบาทสนับสนุนสำหรับการขยายกิจการในอนาคต

การจัดตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในไทยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศของไอออน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะทำให้ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ สำนักงานใหญ่ของไอออนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นบริษัทลูกของไอออนในประเทศไทยที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ระดับท็อปของไทย เพื่อจัดส่งรถยนต์ป้อนตลาดไทย

ไอออนมองว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถไฟฟ้าได้รับประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมของรัฐบาล เช่น การลดภาษีและค่าธรรมเนียม การอุดหนุนเป็นเงินสดให้แก่ผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการลงทุน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจ ทั้งในด้านการลงทุนและจัดตั้งที่ทำการสำนักงานใหญ่

ไอออนจะนำเทคโนโลยีมาสู่ตลาดไทย โดยจะมีการเปิดตัวรถระดับท็อปรุ่นต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ซื้อชาวจีนและต่างชาติ ขณะเดียวกัน ไอออนจะขยายช่องทางการขายและผลิตรถในท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย

ไอออน ซึ่งเป็นรถพลังงานใหม่อัจฉริยะโมเดลหลักของจีเอซี กรุ๊ป (GAC Group) สามารถสร้างอัตราการเติบโตแบบทบต้นโดยเฉลี่ยต่อปีได้เกิน 120% ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี โดยในปี 2565 สามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงถึง 271,200 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้นถึง 126% สร้างรายได้ทั้งปีอยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านหยวน หรือ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไอออนได้สร้างยานยนต์อัจฉริยะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวระดับเวิลด์คลาส ทั้งหมด 6 รุ่น ซึ่งรวมทั้งไอออน เอส (S), วี (V) และวาย (Y) ทุกรุ่นมียอดจำหน่ายอยู่ในสามอันดับแรกของโลกสำหรับรถระดับเดียวกัน

ส่วนรถรุ่นไอออน แอลเอ็กซ์ (LX) นั้น ทลายเพดานจำกัดของอุตสาหกรรมรถยนต์หลายอย่าง โดยใช้แบตเตอรี่รถไฟฟ้าระดับเวิลด์คลาสที่มีช่วงการทำงานถึง 1,008 กิโลเมตร ในขณะที่รถไอออน ไฮเปอร์ เอสเอสอาร์ (Hyper SSR) ประสบความสำเร็จในการเร่งความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ ภายในเวลาเพียง 1.9 วินาที