นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลการศึกษา “ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสินค้ามันสำปะหลัง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC)” อันประกอบด้วย ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย
“จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นด้านการผลิตพบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังภายในประเทศปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปี 2564/ 2565 ประเทศไทยผลิตหัวมันสดได้ 9.92 ล้านตัน แต่มีความต้องการใช้หัวมันสดมากถึง 46.57 ล้านตัน ดังนั้น การส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง จึงควรเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด โดยการส่งเสริมองค์ความรู้ในการเพาะปลูก เช่น การปรับปรุงและเตรียมดิน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้เปลือกดินมันสำปะหลังเพื่อนำไปปรับปรุงบำรุงดิน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ ให้ผลผลิตสูง และต้านทานโรค รวมถึงควรควบคุมคุณภาพของเปอร์เซ็นต์แป้งและสิ่งเจือปนที่มากับมันสำปะหลัง เพื่อพัฒนาให้สินค้ามีคุณภาพมาตรฐานยิ่งขึ้น เพื่อลดการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน”
...
เลขาธิการ สศก. เผยถึงผลการศึกษาด้านการแปร รูปว่า มันสำปะหลังสามารถนำไปแปร รูปได้หลายผลิตภัณฑ์ แต่อุตสาห กรรมแปรรูปมันสำปะหลังส่วนใหญ่ของไทย ยังเป็นการแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด เอทานอล แป้งมันสำปะหลัง แป้งดัดแปร ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาต่อยอดที่หลาก หลาย อาทิ ผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นถุงมือทางการแพทย์ ยา หลอดฉีดยาที่สามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงการผลักดัน ให้ผลิตภัณฑ์เอทานอลของไทยสามารถแปรรูปและจำหน่ายได้อย่างหลากหลาย จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ และส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ
ส่วนด้านการตลาด มีความต้องการผลผลิตมันสำปะหลัง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น อาหารสำหรับบริโภค เอทานอล และอาหารสัตว์ โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลัก คือ จีน ทำให้ราคาส่งออกทั้งมันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ได้ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดังนั้น จึงควรพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ให้ตรงตามความต้องการของตลาด และเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาเพียงตลาดเดียว
“การจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาสินค้ามันสำปะหลัง จะเป็นการเชื่อมโยงและรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ขณะนี้ สศก.อยู่ระหว่างการประมวลผลและวิเคราะห์ผลการศึกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดนโยบาย มาตรการต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำไปพัฒนาต่อยอด วางแผนการผลิตและการตลาดให้กับเกษตรกรต่อไป” นายฉันทานนท์ กล่าว.
...