5 มิถุนายน "วันสิ่งแวดล้อมโลก" พาส่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคร่วมรัฐบาล ออกมาตรการแก้ปัญหา คนไทยได้ประโยชน์

วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day" ซึ่งในหลายประเทศจะจัดกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจาปัญหาสิ่งแวดล้อมและเพื่อป้องกันภัยดังกล่าว 

ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมขึ้น โดยในปีนี้จะมีความพิเศษ เนื่องจากหลายคนได้จับตานโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคร่วมรัฐบาล โดยแต่ละพรรคมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน ที่มีประโยชน์ต่อประชาชน ที่เป็นไฮไลต์และน่าจับตามองดังนี้ 

พรรคก้าวไกล

"พรรคก้าวไกล" ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 1 ในการจัดตั้งรัฐบาล ได้พูดถึงนโยบายเกี่ยวสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจหลายด้าน เช่น การประกาศศึกกับภาวะโลกร้อน โดยมีนโยบายที่ชัดเจนทั้งในเชิง "รับ" เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมไปถึงนโยบายที่อยู่ในนโยบาย 100 วันแรกของทางพรรคก้าวไกล อาทิ

  • นโยบาย "ค่าไฟฟ้าแฟร์" ได้เสนอให้ลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท)
  • นโยบาย "หลังคาสร้างรายได้" มีข้อเสนอปลดล็อกให้ประชาชนทุกบ้านติดแผงโซลาร์ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินใช้กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด

...

เพิ่มแต้มต่อให้ประชาชนผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยการสนับสนุนให้เกิดการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน (จากระบบ net metering) จากโซลาร์เซลล์และพลังงานหมุนเวียนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ในราคาที่สูงกว่าตลาด และประกันราคารับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำ หากยังไม่มีตลาดที่ 2.2 บาท/หน่วย

ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญปัญหาเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเองก็ได้มีนโยบาย "ทวงคืนอากาศสะอาด แก้ปัญหา PM 2.5 ที่ทุกต้นตอ"

โดยระบุว่า "หัวใจของการปราบฝุ่นคือการผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สร้างความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวางโครงสร้างให้พร้อมต่อการรับมือ เน้นที่การเจรจาระหว่างประเทศตัดปัญหาที่ต้นตอ" และได้แบ่งการแก้ไขปัญหาเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะสั้น : หน่วยงานรัฐต้องแจ้งเตือนค่าฝุ่นล่วงหน้าให้ประชาชนวางแผนได้กรณีฝุ่นสูงจะมีการอพยพกลุ่มเสี่ยงให้ไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย แบบเดียวกับที่รับมือกับภัยพิบัติอื่นๆ พร้อมทั้งแจกหน้ากากให้กลุ่มเปราะบาง รวมถึงสั่งหยุดโรงเรียนเพื่อลดความเสี่ยง 

ระยะกลาง : เพื่อไทยจะประสานกับกรมชลประทานให้ปล่อยน้ำเข้านาหลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อเปลี่ยนตอข้าวให้เป็นปุ๋ยสำหรับอ้อยจะประสานโรงงานน้ำตาลให้ลงทุนตัดอ้อยไถกลบแทนการเผา ควบคู่กันไปจะมีการปลูกต้นไม้เพื่อดักจับฝุ่นและจูงใจให้คนหันมาใช้ รถพลังงานสะอาดด้วยมาตรการทางภาษี

ระยะยาว : ต้องมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ ให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการปัญหาฝุ่น บังคับใช้กฎหมายกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจรจากับเพื่อนบ้านเพื่อร่วมกันยุติปัญหาฝุ่นทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน รวมถึงพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือเกษตร เก็บเกี่ยวและขุดกลบที่ไม่ต้องเผา เพื่อจัดการฝุ่นให้ถึงต้นตอ

มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจหลายด้าน เช่น 

นโยบายการจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 

มาตรการด้านการเกษตร คือ เอาผิดกับคนเผาป่าเผาไร่อย่างจริงจัง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า ไม้หายาก เพื่อทดแทนการเกษตรที่ต้องเผาตอซัง ส่งเสริมการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง (Wet & Dry) ช่วยลดก๊าซมีเทนในดิน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

...

มาตรการด้านการจราจร การขนส่งสาธารณะ และการเดินทาง จะออกมาตรการทางภาษีให้สิทธิลดหย่อนภาษี และการหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ประกอบการที่สนับสนุนนโยบาย "สลับ-เหลื่อมเวลาการทำงานและเวลาเรียน" และนโยบาย "Work from home หรือ Learn from home" 

รวมทั้งออก "โครงการสร้างไทยมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" สามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 5% ต่อปี ซื้อมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้จำนวน 1 ล้านคัน เพิ่มการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ โดยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV

นโยบายเพื่อรับมือกับ Climate Change

  • ผลักดันให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ บังคับให้มีการเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายโรงงาน ก๊าซเรือนกระจกสูงตามที่กำหนด โดยรัฐต้องช่วยให้ความรู้ทางเทคนิค
  • บังคับใช้การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) 

นโยบายติดตั้ง Solar Rooftop ให้ฟรี และให้ใช้ไฟฟรี

โดยให้รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตั้ง Solar Rooftop ให้กับประชาชน การดำเนินการจะกระทำผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยการไฟฟ้าฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาระบบ และทำการติดตั้งระบบบนหลังคาบ้านของประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 

...

เงินลงทุนทั้งหมดจะมาจากงบประมาณของรัฐไปยังกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 เป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำที่กองทุนปล่อยกู้ให้การไฟฟ้าฯ ซึ่งการไฟฟ้าฯ จะต้องส่งคืนเงินต้นให้กองทุนในระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี 

สำหรับรายได้หลักของการไฟฟ้าฯ ก็คือค่าไฟฟ้าที่ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาผลิตได้ เฉพาะส่วนที่เกินจาก 210 หน่วย ที่ประชาชนมีสิทธิ์ใช้ไฟฟรี

ในการแถลงนโยบายของพรรคเสรีรวมไทย นอกจากนโยบายที่เน้นแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนแล้ว พรรคเสรีรวมไทย ยังให้ความสำคัญกับนโยบายพลังงาน ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้าราคาถูกสำหรับประชาชน เนื่องจากน้ำมันถือเป็นต้นทุนหลักที่ทำให้ค่าครองชีพสูง

โดยนางสาวนภาพร เพ็ชร์จินดา ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ได้กล่าวถึงนโยบายไฟฟ้าว่า พรรคเสรีรวมไทย จะรื้อระบบสัญญาเอกชนกับการไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม ปราบทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งการทุจริตเชิงนโยบายจากรัฐบาลก่อนหน้า ด้วยการทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าที่ทั้งแพงและยาวนาน บางบริษัทได้กำไรมหาศาลจนคืนทุนไปแล้ว แต่ยังบังคับขายไฟฟ้าตามสัญญาแพงๆ ต่อให้รัฐต่อไปอีก โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า

"หากพรรคเสรีรวมไทยได้เป็นรัฐบาล จะเข้าไปตรวจสอบสัญญา ไปดูต้นทุน สืบสวนหาหลักฐาน หากพบมีการทุจริต เราจะดำเนินคดีและยกเลิกสัมปทานขายไฟฟ้าทั้งหมด หากจะมีข้อพิพาท ร้องอนุญาโตตุลาการ ก็จงรู้ไว้ก่อนนะว่าคู่กรณีคือคนไทยทั้งประเทศ"

...

สำหรับ พรรคเป็นธรรม เป็นพรรคใหม่ ที่มี นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ เป็นหัวหน้าพรรค และมี นายกัณวีร์ สืบแสง เป็นเลขาธิการพรรค และเป็นว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อหนึ่งเดียวของพรรค ซึ่งบทบาทด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์และได้เจรจายุติเวทีรับฟังความเห็นเหมืองแร่เขาเตราะปลิง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับเครือข่ายประชาชนพิทักษ์เขาเตราะปลิง

โดยระบุว่า เหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนสูง จึงต้องรับฟังเสียงของประชาชนที่แท้จริง 

นอกจากนี้ นายกัณวีร์ ได้กล่าวกับเครือข่ายประชาชนว่า จะร่วมติดตามปัญหานี้ และจะติดตามหากมีการคุกคามกลุ่มผู้เคลื่อนไหวคัดค้าน รวมถึงจะมีคณะทำงาน โดยนายมูฮัมหมัดกัดดาฟี กูนา อดีตผู้สมัคร ส.ส. จ.ปัตตานี พรรคเป็นธรรม ซึ่งเป็นนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จะติดตามเรื่องนี้ด้วย โดยเห็นว่าปัญหานี้อยู่ที่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ไม่โปร่งใส

"เราไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่กระบวนการทำเหมืองหิน ต้องโปร่งใส แต่จากที่เห็นกรณีนี้ข้อมูลไม่ชัดเจน ไม่ตรงกัน การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรู้ล่วงหน้ามีน้อย และมีการคุกคามผู้ไม่เห็นด้วย ไม่สามารถจะยอมรับได้ และไม่เป็นธรรมแน่นอน".