เช็กค่าฝุ่นเช้านี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่ามีแนวโน้มลดลง ไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ เนื่องจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อน แต่เมื่อวานที่ผ่านมาตรวจพบจุดความร้อนที่สูงผิดปกติ 15 พื้นที่

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจวัดได้ 13-31 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดีมาก กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีพายุฝนฟ้าคะนอง ฝน 20% ของพื้นที่

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

  • ในช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวปิดสลับเปิด จึงส่งผลให้ฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง และในช่วงนี้ทั่วไทยจะเริ่มมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ทิศทางลมมีความแปรปรวน โดยช่วงแรกจากมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมทางภาคอีสานตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
  • ในช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่
  • จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียม ตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติ จากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร และผลจากการประสานตรวจสอบจุดความร้อน สรุปผลได้ดังนี้
    วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 พบจุดความร้อน จำนวน 3 จุด ดังนี้
    - จุดที่ 1 เวลา 13.10 น. แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง
    - จุดที่ 2 เวลา 14.01 น. แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา
    - จุดที่ 3 เวลา 22.09 น. แขวงคลองถนน เขตสายไหม (เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)
    วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จำนวน 1 จุด ดังนี้
    - จุดที่ 1 เวลา 01.43 น. แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน (เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)
    วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จำนวน 15 จุด (เป็นจุดใหม่ที่พบในวันนี้) ดังนี้
    - จุดที่ 1 เวลา 10.21 น. แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา
    - จุดที่ 2 เวลา 12.53 น. แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
    - จุดที่ 3 เวลา 12.53 น. แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
    - จุดที่ 4 เวลา 13.44 น. แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี
    - จุดที่ 5 เวลา 13.44 น. เขตมีนบุรี
    - จุดที่ 6 เวลา 13.44 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก (ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำ)
    - จุดที่ 7 เวลา 13.44 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก
    - จุดที่ 8 เวลา 13.44 น. แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก
    - จุดที่ 9 เวลา 13.44 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก (ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำ)
    - จุดที่ 10 เวลา 13.44 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก
    - จุดที่ 11 เวลา 13.44 น. แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
    - จุดที่ 12 เวลา 14.12 น. แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
    - จุดที่ 13 เวลา 14.12 น แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
    - จุดที่ 14 เวลา 14.12 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก
    - จุดที่ 15 เวลา 14.12 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดทั้งหมด)

...

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • FB : สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB : กรุงเทพมหานคร
  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • LINE ALERT
  • LINE OA @airbangkok


เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง.

ขอบคุณข้อมูลจาก : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร