แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่า สมมตินายขาวมียาบ้า 1 พันเม็ด ตำรวจล่อซื้อในราคา 6 หมื่นบาท คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 22.9 กรัม ตามพฤติการณ์อย่างนี้ น่าจะเป็นจำหน่าย และทำให้แพร่หลายในหมู่ประชาชน เข้าข่ายประมวลยาเสพติดฉบับใหม่

ประเด็นคือ ระหว่างนายเขียวถูกดำเนินคดี มีการใช้ประมวลกฎหมายใหม่ออกมาพอดี ถามว่า จะใช้กฎหมายฉบับใดลงโทษนายเขียว?

คำตอบคือ ใช้กฎหมายใหม่ครับ?

แต่ใช้ในส่วนที่เป็นคุณไม่ว่าทางใดคือ เอามาตรา 3 ของกฎหมายอาญามาปรับช่วย เพราะตามข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ยาเสพติดเดิมมาตรา 15 ประกอบมาตรา 66 ให้ลงโทษหนัก

ถือเอาปริมาณยาเสพติดเป็นสำคัญคือ ประหาร โดยมาตรา 66 วรรคสามมีโทษปรับถึง 5 ล้านบาท!

แต่กฎหมายใหม่เปลี่ยนไป ศาลจะลงโทษหนักขึ้น ถือเอาพฤติการณ์กระทำผิดเป็นสำคัญ และไม่ได้เน้นลงโทษหนักตามปริมาณยาอีกต่อไป แต่กำหนดพฤติการณ์บทบาทหน้าที่ที่จัดไว้ให้ด้วย

ถ้าพฤติการณ์ร้ายแรงกระทบสังคมและประเทศก็รับโทษหนักหน่วง!

ย้อนมาคดีนี้ ถ้าศาลมองว่านายขาวมีพฤติการณ์แห่งคดี จำหน่ายยาบ้าย่อมทำให้แพร่กระจายในหมู่ประชาชน เข้าข่ายประมวลยาเสพติดมาตรา 145 วรรค 2 (2) ระวางโทษจำคุกถึง 20 ปี และปรับถึง 2 ล้านบาทได้ อันนี้แค่ยกตัวอย่างนะครับ

แต่ก็มีคดีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นจริงๆแล้ว เป็นคดีตัวอย่างคือ คดีฎีกาที่ 272/2565 และ 506/2565 เป็นฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่

ประเด็นคือ ศาลใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ มีข้อกฎหมายข้อสังเกตน่าสนใจ เช่น จะปรับบทกฎหมายใดเพิ่มโทษได้หรือไม่ เป็นความผิดกี่กรรม?

นักกฎหมายสายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ควรตามมาศึกษาเพิ่มเติมนอกจากที่ว่ามานี้ วิเคราะห์โดยท่านผู้พิพากษา ดร.สันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนฯ ระยอง ติดตามอ่านได้ในวารสารเนติบัณฑิตยสภา ฉบับ 403 ปี 2566 ที่ http://thethaibar.or.th ครับ.

...

สหบาท