ผศ.ดร.สถาพร แสงสุโพธิ์ รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ทั้งในด้านสุขภาพที่ผู้คนต้องเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Com municable diseases) ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เช่น เบาหวาน, ไขมัน, ความดัน และมะเร็ง อันเกิดจากฐานการผลิตระบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้อาหารมีการปนเปื้อนกับสารเคมีทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และส่งผลร้ายต่อสุขภาพตามมา จากประเด็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้สร้างองค์ความรู้เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้องค์ความรู้ที่ทำวิจัยคือเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการ 9 มิติ

1.การเกษตรไร้สารเคมี 2.ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ 3.สปาสุขภาพเพื่อฟื้นฟูร่างกาย 4.ระบบเศรษฐกิจชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 5.สร้างสังคมแห่งความสุข 6.สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเพณี วัฒนธรรม 7.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม/ BCG 8.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 9.ศูนย์วิจัยพัฒนา และศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม มาเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม

...

“ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่สามารถเกื้อกูลกันในเรื่องของมิติในหลายๆเรื่อง ซึ่งตอนนี้เองเราก็ได้นำเอาในส่วนของอีกสองประเด็นหลักๆ ที่เข้ามาร่วมในเรื่องของ BCG หรือระบบเศรษฐกิจสีเขียว ระบบหมุนเวียนต่างๆจะสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมนำเอาสิ่งที่เหลือใช้ต่างๆเข้ามาหมุนเวียนมาใช้ในระบบสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมของเรา รวมทั้งก็จะก้าวข้ามไปสู่ในเรื่องของ SDG Model พูดถึงความมั่นคงของชีวิต ในเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัว BCG Model เอง และ SDGs Model จะเป็นมิติสามส่วนที่ร่วมผนึกกำลังกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างแบบองค์รวม ซึ่งตัว BCG ปัจจุบันรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึง SDG Model เป็นเป้าหมายของสหประชาชาติ เราก็มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ BCG และ SDGs สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้”

สำหรับพื้นที่ จ.ระยอง เมืองท่องเที่ยวสำคัญในเขต EEC มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีเครือข่ายเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม 3 แห่ง สวนหอมมีสุข ต.กระเฉด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย อ.เมืองระยอง และหาดแสงจันทร์รีสอร์ท ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง มีแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน โดยเน้นไปที่การไม่ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติ และนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด การลดการใช้สารเคมี และอาหารเป็นยาเพื่อสุขภาพ

“เราเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีความพร้อมที่ได้นำองค์ความรู้ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่สร้างต้นแบบแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติจริงเกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งจะได้นำการวิจัยและพัฒนาตลอดจนองค์ความรู้ต่างๆ โดยมีศูนย์การเรียนรู้พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ขยายผลสู่พี่น้องประชาชนและผู้ที่สนใจ ถือเป็นมิติใหม่ก้าวสำคัญของแนวนโยบายมหาวิทยาลัยที่จะได้ขับเคลื่อนให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อนำแนวทางดังกล่าวไปขยายผลสู่การพัฒนา ชุมชน, ท้องถิ่น และในระดับประเทศให้ครอบคลุมช่วยแก้ไขปัญหา เกิดความยั่งยืนในชีวิตต่อไป”.