การใช้ “แรงงาน” ที่ถูก “กฎหมาย” จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ
สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงแรงงาน สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นอย่างยิ่ง
คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ในการดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม...ตลอดจนจะช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ
นับรวมไปถึงป้องกันปัญหา “การค้ามนุษย์” ด้านแรงงาน
ปัจจุบันประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้ “แรงงานต่างด้าว” เข้ามาทำงานในกิจการที่แรงงานขาดแคลนรวมถึงกิจการที่คนไทยไม่นิยมทำ ซึ่งในปี 2566 นี้ มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา เมียนมาและเวียดนาม เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วกว่า 3 ล้านคน
...
ที่ผ่านมา...ด้วยความมุ่งมั่นพัฒนากลไกการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครอง ดูแลสิทธิของแรงงานต่างด้าวให้มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงมีการสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวเข้าไปมีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น
ร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างในการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการให้แก่ลูกจ้างตามสัญชาติได้อย่างเหมาะสมในแต่ละประเภทกิจการ ตรงตามความต้องการของลูกจ้างเอง มิใช่นายจ้างจัดการเพียงฝ่ายเดียว... ลูกจ้างต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกคนจะได้รับการคุ้มครอง
เช่นเดียวกับลูกจ้างคนไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานนั้น มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของลูกจ้าง
ลงลึกในรายละเอียด อาทิ กิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิ
มุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรู้ให้แก่นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานต่างด้าว รวมทั้งกำชับให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานใน พื้นที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการเพื่อบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกัน... คุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย
ฝากไปถึง “นายจ้าง”...“เจ้าของสถานประกอบกิจการ” ที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าว นำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง และปฏิบัติต่อลูกจ้างต่างด้าวและลูกจ้างที่เป็นคนไทยอย่างเท่าเทียมกัน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เพราะไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใดต่างก็ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อนายจ้าง สถานประกอบกิจการด้วยกัน และหากลูกจ้างทุกคนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ในทุกช่องทางของกระทรวง แรงงาน หรือโทร.สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ไว้บริการให้ความเป็นธรรม
ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ตอบคำถามและให้คำปรึกษาในภาษาเมียนมา และกัมพูชา
เมื่อเร็วๆนี้ “กระทรวงแรงงาน” ได้จัดกิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road Show) ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว
...
ภายใต้กรอบแนวคิด “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม”
เพื่อส่งเสริมให้ “แรงงานต่างด้าว” รับรู้สิทธิความคุ้มครองตามกฎหมาย ณ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 110 ถ.กาญจนวนิช ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นสถานประกอบกิจการประเภทกิจการต่อเนื่องการเกษตร ผลิตถุงมือยาง ที่มีการจ้างงานคนไทย จำนวน 1,750 คน
แรงงานต่างด้าวรวมทุกสาขา จำนวน 2,818 คน เฉพาะที่จังหวัดสงขลา จำนวน 1,700 คน
กิจกรรมในครั้งนี้ เดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานและพบปะให้กำลังใจกับแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบกิจการที่มาร่วมกิจกรรม
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ จัดแสดงนิทรรศการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว อาชีพสงวนสำหรับคนไทย การส่งมอบหนังสือคู่มือสิทธิแรงงานต่างด้าว 4 ภาษา ประชาสัมพันธ์ช่องทางการติดต่อสื่อสารของกระทรวงแรงงาน เล่นเกมแจกของรางวัล
ย้อนไปก่อนหน้านี้ในการติดตามการบริหารจัดการที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันที่นี่มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ จำนวนทั้งสิ้น 150,731 คน แบ่งออกเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา 105,942 คน
...
คนต่างด้าวชนกลุ่มน้อย บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน 39,350 คน คนต่างด้าวทั่วไป 4,843 คน คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 596 คน คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจังหวัดเชียงใหม่ (ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ 13 ก.พ.66) 104,076 คน
...มีแรงงานต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานจำนวนทั้งหมด 92,356 คน
เดชา ย้ำว่า การใช้แรงงานที่ถูกกฎหมายจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ที่สำคัญจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม ตลอดจนจะช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์
ตอกย้ำสิทธิ “แรงงานต่างด้าว” ให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับ “แรงงานไทย” เช่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การรักษาพยาบาล การได้รับสวัสดิการจากสถานประกอบการอย่างเป็นธรรม
เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
...
การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบการจัดกิจกรรมในสถานประกอบกิจการ จะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิความเท่าเทียมระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่จะให้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงเป็นการแสดงออกของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลในการมุ่งมั่น ส่งเสริม ป้องกัน
มิให้นายจ้าง...สถานประกอบกิจการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้การจัดลำดับสถานการณ์การ “ค้ามนุษย์” ของประเทศไทยจาก Tier 2 ไปสู่ Tier 1 ตามความมุ่งหวังของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
โครงการประชาสัมพันธ์ “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม” เป็นการแสดงออกของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลที่มุ่งมั่นส่งเสริมการใช้แรงงานที่ถูกกฎหมาย การดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงาน ช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึง ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์
“ประเทศไทย” ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ไม่เว้นแม้แต่การใช้แรงงานต่างด้าว.