53 จังหวัดทั่วไทยจมฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 กทม.-ปริมณฑล ฝุ่นฟุ้งเกินค่ามาตรฐาน 90 พื้นที่ อ่วมสุด คือ ต.ลาดใหญ่ อ.เมืองสมุทร สงคราม วัดค่าฝุ่นได้ถึง 132 มคก./ลบ.ม. กระทบต่อสุขภาพ ส่วนภาคเหนือเกินค่ามาตรฐาน 17 จังหวัด ภาคอีสานเกินค่ามาตรฐาน 16 จังหวัด ขณะที่ภาคกลางเกินค่า 9 จังหวัด และภาคตะวันออก 5 จังหวัด
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศพื้นที่ทั่วประเทศ ว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับคุณภาพดีมากถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพและการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) พบค่าระหว่าง 13-132 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) เกินค่ามาตรฐานทั้งหมด 53 จังหวัด โดยค่าฝุ่นสูงสุดอยู่ที่ ต.ลาดใหญ่ อ.เมืองสมุทร สงคราม วัดค่าฝุ่นได้ 132 มคก./ลบ.ม. ขณะที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตรวจวัดค่าระหว่าง 54 -97 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน รวม 90 พื้นที่ โดยพื้นที่เกินค่ามาตรฐานจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มี 3 พื้นที่ คือ ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กับที่ริมถนนบางนา-ตราด เขตบางนา
...
ส่วนที่ภาคเหนือ ตรวจวัดค่าระหว่าง 38- 100 มคก./ลบ.ม. เกินค่ามาตรฐานทั้งหมด 17 จังหวัด ได้แก่ ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง ต.สบปาด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย เชียงราย ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก ต.ท่าอิฐ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ต.ในเมือง อ.เมืองกำแพงเพชร ต.ในเมือง อ.เมืองพิจิตร ต.ธานี อ.เมืองสุโขทัย ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง อุทัยธานี ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรวจพบค่าระหว่าง 53-115 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานทั้งหมด 16 จังหวัด ได้แก่ บริเวณ ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ ต.มุกดาหาร อ.เมืองมุกดาหาร ต.ในเมือง อ.เมือง ขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี ต.ในเมือง อ.เมือง นครพนม ต.ธาตุนาเวง อ.เมืองสกลนคร ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด ต.เมืองเหนือ อ.เมืองศรีสะเกษ ต.เหนือ อ.เมืองกาฬสินธุ์ ต.ลำภู อ.เมืองหนองบัวลำภู ต.ในเมือง อ.เมืองชัยภูมิ
ภาคกลาง ตรวจพบค่าระหว่าง 37-132 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 9 จังหวัด ได้แก่ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต.ประตูชัย อ.พระนคร ศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ต.ปากเพรียว อ.เมือง สระบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี ต.ลาดใหญ่ อ.เมืองสมุทรสงคราม ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี ต.บางพุทรา อ.เมืองสิงห์บุรี ต.ย่านซื่อ อ.เมืองอ่างทอง
ภาคตะวันออก ตรวจพบค่าระหว่าง 38- 64 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 5 จังหวัด ได้แก่ ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ต.ท่าประดู่ อ.เมืองระยอง ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองระยอง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ต.อรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
ขณะเดียวกัน ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพ มหานคร รายงานสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 57-97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของวันที่ 31 ม.ค. และพบเกินมาตรฐานจำนวน 70 พื้นที่ อาทิ เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ 97 มคก./ลบ.ม. เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา 95 มคก./ลบ.ม.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 มีค่า 91 มคก./ลบ.ม. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ 88 มคก./ลบ.ม. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 85 มคก./ลบ.ม.
...
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 คาดว่าเกิดจากอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 31 ม.ค.-3 ก.พ. ไม่ดีเนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. เป็นช่วงที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. คาดว่าอัตราการระบายอากาศจะดี อีกทั้งความกดอากาศสูงจากจีนจะออกมานอกชายฝั่งทำให้ทิศของลมหนาวนั้นเปลี่ยนจากตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นตะวันออก ส่งผลให้จะมีการเริ่มพัดพาฝุ่นควันจากกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคกลาง และ กทม. เป็นปรากฏการณ์ปกติของการเปลี่ยนผ่านไปยังฤดูร้อน