การลงทุนใน SSF / RMF นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ใหม่สำหรับใครหลายคน นักลงทุนที่คุ้นเคยกับกองทุนดังกล่าวมักจะคาดหวังผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างไรก็ดี ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมานับว่าเป็นยุคที่ตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้างและเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่เพียงพอ SSF / RMF ในปัจจุบันนั้นจึงถูกออกมาแบบมาให้ตอบโจทย์ภาวะการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการลงทุนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับภาพรวมการลงทุนในปี 2022 พบว่าผลตอบแทนเกือบทุกสินทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก สาเหตุมาจากดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วจากเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปทานที่ยังคงเร่งตัว อย่างไรก็ดี ในปี 2023 ภาพดังกล่าวอาจจะต่างออกไป การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารทุนและตราสารหนี้นั้นจะกลับมาเป็นตัวแปรสำคัญในการลงทุนระยะยาว แม้ว่าโอกาสในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะสูงขึ้นก็ตาม โดยทาง บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล.ดาโอ) มองว่าเศรษฐกิจในปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำในเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มถดถอยนั้นอาจจะไม่ได้ถดถอยรุนแรง ทำให้เป็นจังหวะและโอกาสในการลงทุนระยะยาวในช่วงต่อจากนี้
กลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) หรือ DAOL (THAILAND) เดิมชื่อ กลุ่มบริษัท เคทีบีเอสที หรือ KTBST Group เป็นผู้ให้บริการด้านการเงินและการลงทุนในตลาดทุนที่ครบครัน สำหรับโค้งสุดท้ายปลายปีนี้ จะลงทุนในกองทุน SSF / RMF กองไหน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ใด เพื่อให้ได้ทั้งโอกาสรับผลตอบแทน และลดหย่อนภาษี บล.ดาโอ (DAOL SEC) และ บลจ.ดาโอ (DAOL INVESTMENT) จะมาแนะนำกองทุนที่ตอบโจทย์ theme การลงทุนในปี 2023 อันประกอบไปด้วย
1. ภาวะดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า
2. ถึกทนแข็งแกร่งก้าวข้ามเศรษฐกิจถดถอย
3. มีมูลค่าเหมาะสมที่ถูกพร้อมฟื้นเติบโตในระยะยาว
ดังนั้น บล. ดาโอ (DAOL SEC) จึงแนะนำกองทุน SSF / RMF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นหลัก เพราะมองว่า การลงทุนในหุ้นเป็นทางเลือกการลงทุนที่ดีกับพอร์ตการลงทุนโดยรวม เนื่องจากมีโอกาสฟื้นตัวมากกว่า และเป็นกองทุนที่ประเมินว่ามีโอกาสจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเน้นกองทุนที่มี theme การลงทุน ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นโลกที่มีคุณภาพ ที่มีกระแสเงินสดเยอะ และมีความสามารถในการทำกำไรสูงทั้ง กองทุนหุ้นแบรนด์เนม หุ้นจีน หุ้นไทย หุ้นเวียดนาม และหุ้นรักษ์โลก โดยแนะนำกองทุน จาก บลจ. ต่างๆ ดังนี้
กองทุน KFGBRANSSF และ KFGBRANRMF จาก บลจ.กรุงศรี: ลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของบริษัทผลิตสินค้าและบริการแบรนด์ดังระดับโลก กองทุนลงทุนในกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นโลกคุณภาพสูงที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว โดยมุ่งเน้นการค้นหาบริษัทที่มีความสามารถสร้างผลตอบแทนในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยจุดแข็งจากแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และการบริหารงานที่เป็นมิตรต่อผู้ถือหุ้น โดยกลุ่มบริษัทที่ลงทุนจะทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจ และมีอำนาจต่อรองด้านราคา เช่น Microsoft Office, Windows, และ Visa เป็นต้น
กองทุน K-CHINA-SSF และ KCHINARMF จาก บลจ.กสิกรไทย: คัดสรรหุ้นจีนที่มีแนวคิดการลงทุนที่ดีที่สุด เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตในระยะยาว ลงทุนในกองทุน JPMorgan Funds – China Fund (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Bottom-up ในหุ้นจีนที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีศักยภาพเติบโต โดยลงทุนในหุ้นจีนทุกชนิด ทั้งหุ้นกลุ่มบริษัทที่มีฐานธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ (A-Share) และหุ้นกลุ่มบริษัทที่มีฐานธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่จัดตั้งบริษัทนอกประเทศจีนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (H-Share) โดยกองทุนเน้นลงทุนในกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Economy) ที่ได้รับประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนในระยะยาว เช่น กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องมือแพทย์
กองทุน ASP-SME-SSF จาก บลจ.แอสเซท พลัส: ลงทุนในหุ้นไทยขนาดกลางและเล็ก ที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท ที่มีการเติบโตของผลประกอบการที่มีคุณภาพสูง ประมาณ 30-35 ตัว ปัจจุบันเน้นลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เลือกลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากกำลังซื้อที่สูงของคนจีนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV คือ ประเทศกัมพูชา ลาว สหภาพเมียนมา และเวียดนาม และกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความพยายามลดหนี้นอกระบบของภาครัฐ โดยลงทุนได้ทั้งหุ้นในตลาด mai และ SET และสามารถลงทุนในหุ้น IPO ได้ด้วย เช่น BBIK, CENTEL, TISCO, SPA, และ BAFS
กองทุน KMSRMF จาก บลจ.กสิกรไทย: ลงทุนในหุ้นไทยขนาดกลางและเล็ก โดยมีการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up กระจายลงทุนในหุ้นประมาณ 35-45 ตัว เน้นลงทุนในหุ้นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเมือง ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มที่มีแนวโน้มเติมโตได้ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มสื่อ หุ้นกลุ่มค้าปลีก การเงิน และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น AMATA, CENTEL, WHA และ BA
K-VIETNAM-SSF และ KVIETNAMRMF จาก บลจ.กสิกรไทย: โอกาสเติบโตจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่ใหญ่ขึ้น ในประเทศตลาดเกิดใหม่ เน้นลงทุนกระจายการลงทุนในหุ้นเวียดนามที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการเติบโต และมีระดับราคาที่น่าสนใจ โดยผสมผสานกลยุทธ์ระหว่าง Top-down และ Bottom-up โดยลงทุนในหุ้นเวียดนามโดยตรง 70-80% และอีก 20-30% ลงทุนในกองทุนหุ้น Active และ Passive ที่ลงทุนในประเทศเวียดนาม
K-CHANGE-SSF และ KCHANGERMF จาก บลจ.กสิกรไทย: ลงทุนในหุ้นรักษ์โลก ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับโลกได้ ลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Bottom-up ในหุ้นโลกเติบโตคุณภาพสูง ที่มีความรับผิดชอบต่อทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษา และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.daolsecurities.co.th/highlight/activities/tax-deduction-2565-ssf-rmf
ส่วนด้าน บลจ.ดาโอ (DAOL INVESTMENT) มีกองทุน RMF แนะนำอีก 3 กองทุน ที่ลงทุนทั้งในตลาดเงิน หุ้น และทองคำ
กองทุน DAOL-MONYRMF ที่ช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝากและพักเงินในภาวะตลาดผันผวน
กองทุน DAOL-GLOBALEQRMF ลงทุนในหุ้นบริษัทชั้นนำที่แข่งแกร่ง และมีปัจจัยพื้นฐานดีทั่วโลก
กองทุน DAOL-GOLDRMF ลงทุนในทองคำ เงิน และหุ้นเหมือง ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.daolinvestment.co.th/mutual-fund/info/recommended-fund/rmf-fund-recommended
นักลงทุนหรือท่านใดสนใจให้กลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) เป็นเพื่อนคู่คิดทางการเงินของคุณและดูแลคุณ ติดต่อได้ที่ DAOL Contact Center 0 2351 1800 หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.daol.co.th หรืออีเมล contactcenter@daol.co.th
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ก่อนตัดสินใจลงทุน หากผู้ลงทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ พร้อมชำระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร I กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนบางส่วนหรือทั้งหมดตามแต่สภาวการณ์ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้