อีกไม่กี่วันก็จะเข้าสู่ปีหน้าฟ้าใหม่ 2566 กันแล้ว เชื่อว่าหลายคนกำลังวางแพลนเตรียมไปทำบุญเพื่อรับสิ่งดีๆ ในช่วงต้นปีกันอย่างแน่นอน รวมไปถึงทำบุญในวันพระกันด้วย ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีวันพระอยู่ประมาณ 4 วัน และเพื่อไม่ให้พลาดวันสำคัญ วันนี้เราได้รวบรวมวันพระตลอดทั้งปี 2566 มาฝาก ส่วนจะมีวันไหนบ้างไปเช็กกันได้เลย
วันพระ เดือนมกราคม 2566
วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566
วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 (ตรงกับวันเด็กแห่งชาติ)
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566
วันพระ เดือนกุมภาพันธ์ 2566
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566
วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566
วันพระ เดือนมีนาคม 2566
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 (วันมาฆบูชา)
วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2566
สำหรับ "วันมาฆบูชา" เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2 ประการคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ และพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร โดยตรัสขณะแสดงธรรมว่า "ต่อไปนี้อีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน" หลังจากทรงสั่งสอนพระธรรมมาเป็นเวลา 45 ปี
วันพระ เดือนเมษายน 2566
วันพุธที่ 5 เมษายน 2566
วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2566 (วันสงกรานต์)
วันพุธที่ 19 เมษายน 2566
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566
วันพระ เดือนพฤษภาคม 2566
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566 (วันฉัตรมงคล)
วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566
วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566
วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566
...
วันพระ เดือนมิถุนายน 2566
วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 (วันเฉลิมฯ พระราชินี, วันวิสาขบูชา)
วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 (วันอัฏฐมีบูชา)
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2566
สำหรับ วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ
วันพระ เดือนกรกฎาคม 2566
วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566
วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566
วันพระ เดือนสิงหาคม 2566
วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 (วันอาสาฬหบูชา)
วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 (วันเข้าพรรษา)
วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566
วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566
วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566
วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566
สำหรับ "วันอาสาฬหบูชา" เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี
ส่วน "วันเข้าพรรษา" เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระสงฆ์นิกายเถรวาทจะจำพรรษาที่วัดใดวัดหนึ่งเป็นเวลา 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
วันพระ เดือนกันยายน 2566
วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566
วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566
วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566
วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566
วันพระ เดือนตุลาคม 2566
วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 (วันออกพรรษา)
สำหรับประวัติ "วันออกพรรษา" มีเหตุการณ์ในพุทธประวัติเล่าว่าพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้เคยมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ถึงเมืองสังกัสสะ ชาวบ้านต่างร่วมใจกันเดินทางไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นที่มาของการตักบาตรเทโวโหรณะ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาท เรียกว่า "ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์"
วันพระ เดือนพฤศจิกายน 2566
วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 (วันลอยกระทง)
วันพระ เดือนธันวาคม 2566
วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566 (วันคล้ายวันเฉลิมฯ ร.9, วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ)
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566
วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566
สำหรับใครที่ไม่ได้ไปทำบุญที่วัด สามารถสวดมนต์บูชาพระที่บ้านได้ โดยมีคาถาบูชาพระสั้นๆ ดังนี้
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ) สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ
อะภิปูเชมะ อัมหากง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา
โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อิเมหิ สักกาเรหิ สักกัจจัง อะภิปูชะยามิ
...
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
คําสวดลาของไหว้
ตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำบูชาว่า
เสสัง มังคะลายาจานิ