กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เผย 4 แหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ ที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและรักษาอุณหภูมิโลกได้อย่างยั่งยืน
วันที่ 2 ธันวาคม 2565 เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ข้อความระบุว่า การลดก๊าซเรือนกระจกและลดอุณหภูมิโลกอย่างยั่งยืน จำเป็นที่ต้องฝากความหวังไว้กับมาตรการและแนวทางที่ทุกชาติทั่วโลกนำมาปฏิบัติ โดยเฉพาะการพยายามรักษาแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติเอาไว้
- ป่าพรุ (Peatlands) สามารถกักเก็บคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพกว่าป่าเขตร้อนทั่วไป เนื่องจากความหนาของการทับซ้อนกันจากซากพืชและสัตว์มาอย่างยาวนาน หากมีความหนา 10 เมตรขึ้นไป จะสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากถึง 5,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เปอร์เฮกตาร์ ขณะที่ป่าเขตร้อนทั่วไป กักเก็บคาร์บอนได้เพียง 300-800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เปอร์เฮกตาร์
- พื้นที่ป่า ต้นไม้และป่าไม้เป็นตัวดูดซับและกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ โดยการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าเขตร้อนและการปลูกป่าใหม่ทั่วโลก สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ 60–87 กิกะตันภายในปี ค.ศ. 2050
- พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) พื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ หรือช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต่างๆแล้ว ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีบทบาทสำคัญอยากหนึ่ง โดยประมาณการว่า พื้นที่ชุ่มน้ำบนบกในทวีปอเมริกา สามารถเก็บกักคาร์บอนไว้ถึง 13.5 พันล้านเมตริกตัน
- ระบบนิเวศชายฝั่ง เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่หญ้าและสาหร่ายขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินลึกหลายเมตร ในปริมาณที่มากกว่าป่าเขตร้อน
...
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม