"เนสท์เล่" จับมือ วงษ์พาณิชย์ และชุมชนตําบลบ้านหลวง จัดตลาดนัดขยะชุมชน ส่งเสริมการคัดแยกแลกขยะเป็นเงิน ลดของเสียลงแหล่งน้ํา รักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด ได้จับมือกับ วงษ์พาณิชย์ และชุมชนตําบลบ้านหลวง จัด "ตลาดนัดขยะชุมชน" ขึ้นที่ โรงเรียนจรัสวิทยาคาร (มิตรภาพที่ 57) ต.บ้านหลวง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งเสริมการคัดแยกแลกขยะเป็นเงิน ลดของเสียลงแหล่งน้ํา

นางสาวนาริฐา วิบูลยเสข ผู้อํานวยการบริหารหน่วยธุรกิจน้ําดื่ม ซึ่งประกอบไปด้วยน้ําดื่มเนสท์เล่เพียวไลฟ์ และน้ําแร่มิเนเร่ ภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด เปิดเผยว่า เนสท์เล่ มีพันธกิจด้านความยั่งยืน ไปสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในแผนงานที่เป็นรูปธรรม คือการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ําอย่างยั่งยืน เพื่อปกป้องและฟื้นฟูแหล่งน้ําให้กับคนรุ่นต่อไป เกิดเป็นโครงการเยาวชน พิทักษ์สายน้ํา โดยตลอด 7 ปีที่ลงมือทําโครงการนี้อย่างจริงจัง ผ่านความร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน และองค์กร ภาคประชาสังคม

...

จุดเริ่มต้นของ "ตลาดนัดขยะชุมชน"

นางสาวนาริฐา กล่าวว่า "ตลาดนัดขยะชุมชน" มาจากข้อสังเกตที่ได้ระหว่างการล่องเรือเก็บขยะในคลองขนมจีนของโครงการ "เยาวชนพิทักษ์สายน้ํา" ว่ายังคงมีขยะในคลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะที่สามารถนําไปรีไซเคิลได้ 

เราพบว่าปัญหาหนึ่งที่ทําให้แหล่งน้ําเน่าเสียคือขยะที่หลุดลอยลงสู่แหล่งน้ํา ดังนั้นการจัดการขยะอย่างยั่งยืนจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทางที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เราจึงจัดอบรมให้ชาวบ้านได้รับความรู้ว่าขยะมีค่า และได้รับประสบการณ์จริงด้วยการจัดตลาดนัดขยะให้เกิดการซื้อขายจริง ผ่านความร่วมมือกับ "วงษ์พาณิชย์" ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะและเป็นผู้รับซื้อขยะมาช่วยเรา โดยเริ่มที่แรกที่โรงเรียนจรัสวิทยาคารแห่งนี้ และคิดว่าจำทำต่อเนื่องไปยังชุมชนต่างๆ ในคลองขนมจีนนี้ไปเรื่อยๆ


"โลกนี้ไม่มีขยะ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่วางไว้ผิดที่"

ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธาน วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป กล่าวว่า สาเหตุที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพราะทางเนสท์เล่ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง ทำให้สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ขยะ และต้องยอมรับว่า เนสท์เล่เป็นบริษัทต้นแบบที่ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100% สามารถนำไปทำประโยชน์

"การที่เรามาที่สายน้ำคลองขนมจีนแห่งนี้ ซึ่งเป็นสายน้ำแห่งมรดกของไทย เราต้องร่วมกันรักษาไว้ให้สวยสดงดงาม อยากให้สายน้ำทั่วไทย ทั่วกรุงเทพมหานคร งดงามเหมือนกับสายน้ำที่คลองขนมจีนแห่งนี้ ดังแนวคิด เศษขยะทุกชิ้นเป็นสิ่งมีค่า เปลี่ยนเป็นเงินตรา พัฒนาเศรษฐกิจ เสริมสร้างชีวิต มลพิษไม่มี"

ดร.สมไทย กล่าวอีกว่า สายน้ําที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชุมชนมาเป็นเวลานานกลายเป็นแหล่งน้ําเน่าเสีย ใช้ประโยชน์ไม่ได้เพราะมีขยะลอยน้ําเต็มไปหมดเป็นเพราะขยะไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ทําให้ทั้งขยะและน้ํากลายเป็นของเน่าเสีย การทิ้งขยะลงน้ําก็เหมือนทิ้งเงินลงแม่น้ํา

เราควรส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน และชุมชน เพื่อไม่ให้ขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศในน้ําและมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม วงษ์พาณิชย์ รู้สึกยินดีมากที่ได้ร่วมกับ เนสท์เล่ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้การจัดการขยะ เพื่อรักษามูลค่าขยะและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ เปลี่ยนขยะทุกชนิดให้เป็นรายได้ของชาวบ้านและเป็นทรัพยากรหมุนเวียน สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

...

"ที่วงษ์พาณิชย์จะแยกการรีไซเคิลตามประเภทวัสดุ เช่น กระดาษจะเอาไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษใหม่ ไม่ต้องใช้ทรัพยากรใหม่ กระป๋องอะลูมิเนียมจะนําไปผลิตเป็นอะลูมิเนียมใหม่ได้แบบไม่จํากัดจํานวนครั้งเลย ขวด PET สามารถทําได้หลายอย่าง เช่น ทําเป็นเส้นใยเพื่อมาทําเสื้อผ้าหรือกระเป๋า นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เกิดการหมุนเวียนอย่างแท้จริง แก้ว ก็จะเอาไปผลิตเป็นแก้วใหม่ได้"

ดร.สมไทย กล่าวว่า การมาให้ความรู้กับชาวบ้านได้มาครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2565 โดยให้ชาวบ้านนั่งป็นโต๊ะกลมแล้วนำขยะในหมู่บ้านทุกชนิดมากองรวมกันตรงกลาง ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า "ขยะ" แล้วนำป้ายเขียนว่า "ขยะ" มาวางไว้

จากนั้นได้ให้ชาวบ้านแยกของต่างๆ ออกจากกัน เช่น กระดาษ พลาสติกใส พลาสติกสี กระป๋องอลูมิเนียม และอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจว่า กว่าจะได้กระดาษมานั้นจะต้องเสียเวลาในการปลูกต้นไม้นานถึง 30 ปี และเมื่อชาวบ้านลงมือแยกทีละชิ้นทีละชิ้น จนกระทั่งขยะที่เคยวางรวมอยู่ตรงกลางจะหายไป นั่นก็คือ ขยะเหลือศูนย์ หรือ Net Zero

...

กิจกรรมตลาดนัดขยะช่วยให้ชุมชนเรียนรู้การจัดเก็บและดูแลขยะอย่างถูกวิธี ทําให้ทรัพยากรที่อยู่ผิดที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น เรียนรู้ถึงความต่างของกระป๋องอะลูมิเนียมที่สามารถทําให้แบนและนําไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด ซึ่งต่างจากกระป๋องดีบุกที่ทําให้แบนไม่ได้ ขวด PET ใสที่บิดและปิดฝาก่อนทิ้งโดยไม่ต้องแยกฉลากให้ราคาดีกว่าขวดหลากสี ขวดน้ําปลา ซีอิ๊วต่างๆ ที่เป็นแก้วสามารถขายได้เลยโดยไม่ต้องถอดฝาออก สมุดจดที่ใช้หมดแล้วแค่ดึงปกออกก็สามารถขายได้ราคาดีกว่า เพราะปกต้องแยกขายเป็นกระดาษย่อย รวมถึงน้ํามันพืชที่ใช้แล้วไม่สามารถนําไปใช้ได้อีกก็นํามาขายได้เช่นเดียวกัน หรือแม้แต่ถุงแกงเลอะคราบมันก็สามารถนํามาใช้เป็นพลังงานทดแทน หรือ RDF ได้ เพราะจะให้พลังงานความร้อนได้ดี

เมื่อถามว่า ขยะที่รับซื้อไปจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร ดร.สมไทย กล่าวว่า ขยะที่รับซื้อจากตลาดนัด แต่ละส่ิงแต่ละอย่างกว่า 300 รายการนั้น ข้อแรกคือไปสร้างงาน เมื่อคนมีงานทำและได้ค่าแรง ก็จะสามารถส่งลูกเรียน นี่คือหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่นาทีที่เราคัดแยกขยะ หลังจากนั้นการเคลื่อนย้ายขยะเข้าสู่ระบบ จะเกิดการผลิตในอุตสาหกรรมในแต่ละส่วน เช่น กล่องกระดาษ สามารถนำไปทำกล่องกระดาษลูกฟูกใหม่ในการทำแพ็กเกจจิ้ง หรือขวดน้ำพลาสติก สามารถนำไปทำเส้นใบไฟเบอร์ในการทำกางเกงยีนส์

...

ด้านนางสาวอรัญญา กิจฉัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตําบลบ้านหลวง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านบางคนไม่ค่อยแยกขยะกัน เพราะขายแบบเหมารวมได้เพียงกิโลกรัมละ 2 บาท ให้กับรถเร่ ซึ่งจะรับซื้อบางชนิดเท่านั้น น้ำมันพืชใช้แล้ว รถขยะจากส่วนกลางก็ไม่ได้เข้ามาถึงชุมชน เมื่อมีกิจกรรมตลาดนัดขยะชุมชนที่มีการอบรมและรับซื้อขยะที่แยกประเภทตามราคาจริง จึงเป็นประโยชน์ทั้งกับชาวบ้านและการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนไปพร้อมกัน สามารถสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ และแก้ปัญหาขยะในชุมชนและขยะในแหล่งน้ําได้จริง

ตอนนี้ชุมชนเรารู้ว่าอะไรขายได้ ขายไม่ได้ รู้แล้วว่าจะต้องแยกขยะอย่างไรให้ขายได้ราคาดี มีกระดานอัปเดตราคาขยะแยกประเภทอยู่ในโรงเรียน เพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบราคาขยะตามที่วงษ์พาณิชย์จะเข้ามารับซื้อจริงอยู่เป็นประจํา และในระยะยาวชาวบ้านจะไม่ทิ้งขยะลงคลองอีก เพราะก็เหมือนทิ้งเงินลงน้ําไปด้วย.