อนาคตของภาคเกษตรมีความสำคัญมากสำหรับประเทศไทย และในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ก้าวสู่ยุคดิจิทัล หรือ 4.0 เทคโนโลยีที่เป็น Mega Trend จะทำให้การเกษตรปัจจุบันเป็นโลกแห่ง เกษตรยุคใหม่ ด้วยความก้าวหน้าของโลกดิจิทัลทำให้ผู้ที่ประกอบ อาชีพเกษตรกร ก้าวเข้าสู่การเป็น เกษตรกรหัวก้าวหน้า (Smart Farmer) ซึ่งมีความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยให้ชีวิตแบบ เกษตร 4.0 ง่ายขึ้น และผันตัวจากการเป็นผู้ผลิต มาเป็นผู้ผลิตพร้อมทั้งแปรรูปและจัดจำหน่าย กลายเป็นนักธุรกิจเต็มตัว เพราะในปัจจุบันเกษตรกรสามารถค้าขายผ่านระบบออนไลน์บนเครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกสบาย เชื่อมโยงให้เกิดการสั่งซื้อผ่าน Application ต่างๆ การรับโอนเงินผ่านระบบออนไลน์แบงก์กิ้ง และการส่งของด้วยบริษัทเอกชนที่รวดเร็ว ซึ่งทำให้ตัดเรื่องการสูญเสียผลกำไรบางส่วนให้แก่พ่อค้าคนกลาง ขอเพียงแค่เราสามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตทุกอย่างก็ง่ายดายขึ้น

การเกษตรสมัยใหม่ หรือ เกษตรนวัต จึงเป็นการเกษตรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย ใช้นวัตกรรมต่างๆ มาเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลสถิติและการคาดการณ์ต่างๆ ผ่านระบบเซนเซอร์ ได้แก่ การตรวจวัดสภาพดิน น้ำ แสง และความชื้น ตลอดจนถึงการจัดการกับสภาวะอากาศ หรือแม้กระทั่งการใช้แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ หรือโซลูชันซอฟต์แวร์พิเศษเฉพาะทาง สำหรับการทำการเกษตรแต่ละประเภท รวมไปถึงการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในฟาร์มอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับมือกับความท้าทายของการทำการเกษตรแบบเดิม เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งด้านพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเพราะการขยายตัวของสังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนเกษตรกรที่น้อยลง ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ เพื่อให้ระบบธุรกิจเกษตรยังคงมีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภคได้ ดังนั้นการทำการเกษตรแบบเกษตรนวัตจึงมีบทบาทในการเกษตรยุคใหม่อย่างมากและเป็นรากฐานของการเกษตรในอนาคต

คณะเกษตรนวัตและการจัดการ ( Faculty of Innovative Agriculture and Management : IAM) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะสามารถสนับสนุนให้เกิดเรียนรู้เกษตรยุคใหม่ที่เรียกว่า “เกษตรดิจิทัล” หรือการทำเกษตรยุคใหม่ให้เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยการจัดการอย่างมืออาชีพ ด้วยการปรับโฉมหลักสูตรกับวิสัยทัศน์ใหม่ มุ่งสร้าง “นักจัดการเกษตรนวัต” เกษตรกรมืออาชีพที่ล้ำสมัย โดยการบูรณาการทั้งด้านวิทยาศาสตร์เกษตร นวัตกรรม เศรษฐศาสตร์ วิทยาการจัดการ ร่วมกับองค์ความรู้ในการจัดการด้านธุรกิจเกษตรมาพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและประเทศชาติ สนับสนุนอนาคตภาคการเกษตรให้ยั่งยืน

ดร.มนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีคณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “การทำเกษตรยุคใหม่ต้องสร้างเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจเกษตร ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการเกษตรได้ตลอดโซ่อุปทาน ภายใต้พื้นฐานปกติวิถีใหม่ คณะเกษตรนวัตและการจัดการได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อบ่มเพาะทักษะพื้นฐานทางการเกษตรและเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ทางด้านเกษตรดิจิทัล สนับสนุนผู้เรียนเป็นนักคิด นักสร้างและใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มโอกาส ประสิทธิภาพและแก้ปัญหาได้บนพื้นฐานการเกษตรแม่นยำสูง หรือ Precision Agriculture ซึ่งเป็นรูปแบบการเกษตรที่นำเอาเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตที่ผลิตได้นั้นจะสามารถสร้างรายได้และทำกำไรได้ ผู้เรียนจึงต้องมีความเข้าใจในการหาความต้องการของตลาดเพื่อผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อผู้บริโภค รู้วิธีเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ด้วยการเรียนรู้ควบคู่การการฝึกปฏิบัติงานอย่างเข้มข้นกับมืออาชีพธุรกิจเกษตร จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถเป็นนักเกษตรยุคใหม่ (Young Smart Farmer) ที่ประสบความสำเร็จได้”

เป้าหมายการเรียนการสอนของคณะเกษตรนวัตและการจัดการคือการสอนให้นักศึกษามีความสามารถทำการเกษตรยุคใหม่ให้เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือทำกำไรได้ด้วยการจัดการ โดยมีแนวทางการสร้างศักยภาพให้แก่นักศึกษา เพื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคการเกษตรจากเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ไปสู่เกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Smart Farming) เพื่อให้เกษตรกรร่ำรวยขึ้น และมีความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ด้วยการสร้างขีดความสามารถ 3 ด้านด้วยกันคือ

1. การสร้างขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้วยแนวคิดทำน้อยได้มาก (Do more with less) โดยเริ่มต้นจากการทำเกษตรยุคใหม่หรือเกษตรนวัต ซึ่งเป็นการเสริมความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เกษตรพื้นฐานด้วยนวัตกรรมเกษตรทันสมัยดังนี้

   1) เกษตรดิจิทัลและข้อมูลขนาดใหญ่ (Digital Agricultural & Big Data) เป็นการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ มาทำการประมวลผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางการเกษตร

   2) เครื่องจักรกลเกษตรโดรนและระบบอัตโนมัติ (Agricultural Machinery, Drone and Automation) มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการผลิต

   3) เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (Agricultural Biotechnology) การประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพ มาสร้างนวัตกรรมที่สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจเกษตร

   4) การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ (Modern Farm Management) การนำนวัตกรรมมาใช้ภายใต้หลักการจัดการฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมาก คุณภาพดี และก่อให้เกิดผลิตภาพทางการเกษตรสูงสุด

   5) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง (Postharvest Management and Logistic) เป็นหัวใจหลักของการเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรให้ส่งตรงถึงมือผู้บริโภคอย่างมั่นใจ

   6) การจัดการด้านบริการทางการเกษตร (Agricultural Services) จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเกษตร 4.0

2. การสร้างขีดความสามารถในการคิด วิเคราะห์แยกแยะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนและการจัดการทางธุรกิจ เรียนรู้วิทยาการจัดการ (Management Science) เช่น การจัดการบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance) ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) วัตถุดิบ & แปรรูป (Raw Material & Processing) และเครื่องมือการจัดการ (Business Management Tool) เช่น การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดโดยการจัดการส่วนปะสมการตลาด (Marketing Mix Strategy) หรือที่เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์ 7Ps และ 7Cs การใช้สื่อสังคม (Social Media) เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางธุรกิจ (Business Communication Tool) และการพัฒนาแบบจำลองในการทำธุรกิจ ให้เห็นภาพรวมของธุรกิจชัดเจนด้วยเครื่องมือ BMC (Business Model Canvas) เป็นต้น

3. การสร้างขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรรุ่นใหม่ หรือ Start up ด้านการเกษตรแนวใหม่ในอนาคตที่มีความเข้าใจในการบริหารธุรกิจเกษตร (Agribusiness) มีทักษะในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) การจัดการโซ่คุณค่า (Value Chain Management) การจัดการธุรกิจเกษตรขั้นสูง (Advance Agribusiness Management) การผลิตและการจัดการปฏิบัติการ (Production & Operation Management for Agribusiness) สามารถประกอบอาชีพและธุรกิจทางการเกษตรได้อย่างหลากหลายหลังเรียนจบ ตัวอย่างเช่น ความสำเร็จของบัณฑิต ในกิจกรรมคณะวิชา IAM IDOL “น้องแจง (นางสาวบุษบง งีสันเทียะ)”

นางสาวบุษบง งีสันเทียะ หรือ น้องแจง เจ้าของผลิตภัณฑ์ “เด็กขายนม Boonchu Dairy Farm” ศิษย์เก่าคณะเกษตรนวัตและการจัดการ และผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศเกษตรกรโคนมรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2564 เผยมุมมองและแบ่งปันประสบการณ์ “รูปแบบการเรียนการสอนของคณะในด้านวิชาการจะได้เรียนห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเกษตร (Supply Chain) รู้ตั้งแต่ปัญหา ความต้องการ จนถึงปลายทางของกระบวนการส่งถึงมือผู้บริโภค รวมถึงในด้านบัญชี การจัดการทรัพยากรบุคคล และการทำธุรกิจเกษตรเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ในด้านของการฝึกปฏิบัติงานที่ได้มีโอกาสฝึกทุกชั้นปี ได้เรียนรู้และลงมือทำจริงกับธุรกิจการเกษตรหลากหลายรูปแบบ ครอบคลุมกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งได้นำวิชาความรู้ที่เรียนมาทดลองใช้จริงในการฝึกปฏิบัติงานกับกลุ่มธุรกิจการเกษตร ประยุกต์ให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการเรียนรู้การทำงานด้านการเกษตรอย่างมืออาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถหาได้จากการศึกษาในห้องเรียน ถือเป็นการได้เพิ่มประสบการณ์การทำงานให้กับตัวเอง ได้ค้นพบงานที่ชอบและที่ใช่หลังจากเรียนจบ ไม่ต้องลองผิดลองถูกในการเลือกสายงาน และสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของเครือข่ายพันธมิตร ยิ่งการมีเครือข่ายที่ดีจะเป็นพลังเสริมให้ธุรกิจไปได้เร็วและเติบโตได้ไกลยิ่งขึ้น”

เมื่อจบการศึกษาในบทบาทของผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มโคนม มองว่าปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าแรงงานและการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้ภาคการเกษตรต้องปรับตัว อาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น เมื่อต้องการขยายธุรกิจเติบโตมากยิ่งขึ้น จึงต้องการขยายจำนวนแม่โครีดนม ก็ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการรีดนมแบบ pipeline มาใช้แทนการรีดนมแบบ Bucket milking ปรับเปลี่ยนกระบวนการรีดนมให้สะดวกสบาย ใช้เวลาน้อยลง ใช้แรงงานเท่าเดิมแต่งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการที่คณะฯ ได้เพิ่มองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาในหลักสูตรให้น้องๆ ได้เรียนรู้ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและจำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจการเกษตร โดยเฉพาะผู้ที่มีเป้าหมายอยากประกอบอาชีพนักธุรกิจเกษตร องค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจการเกษตรได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น”

คณะเกษตรนวัตและการจัดการ มีวิธีการเรียนการสอนที่โดดเด่น แตกต่างไปจากการเรียนการสอนการเกษตรคือใช้รูปแบบใหม่ที่เป็นการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงาน (Work-based Education) โดยนักศึกษาจะสามารถเลือกที่จะเข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริงได้กับองค์กรพันธมิตรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายพันธมิตรเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมทักษะวิชาชีพ ตามปรัชญาการเรียนการสอน “การเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงาน (Work-based Education)”
นักศึกษาจะได้รับองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จริงจากการลงมือปฏิบัติจริงในองค์กร ต่อยอดการศึกษาภาคทฤษฎีที่ถ่ายทอดโดยคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร บ่มเพาะให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้ความสามารถและมีความพร้อมทำงานทันที ซึ่งความมุ่งมั่นในการสร้างเยาวชนคุณภาพของคณะฯ จะทำให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมทันสมัยในธุรกิจเกษตร สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร (Master) มีความร่ำรวยและความมั่นคงทางการเงินจากการทำธุรกิจด้วยนวัตกรรม (Millionaire) และความสุขจากการทำสิ่งที่รักด้วยจรรยาบรรณที่ดี (Marvel) พร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จสู่เกษตรกร สังคม และองค์กรได้อย่างยั่งยืนต่อไป


สนใจสมัครเรียนต่อ ป.ตรี พีไอเอ็มให้ทุนการศึกษา คณะเกษตรนวัตและการจัดการ 2 ประเภท ดังนี้

1.ทุนเจียระไนเพชร 100% ค่าเทอมฟรีตลอดหลักสูตร

-วุฒิระดับชั้น ม.6 หรือ ปวช., กศน. เทียบเท่า
-เกรดเฉลี่ย GPAX 3.00 ขึ้นไป

2.ทุน 50%

-วุฒิระดับชั้น ม.6 หรือ ปวช., กศน. เทียบเท่า
-เกรดเฉลี่ย GPAX 2.75 ขึ้นไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/pimfanpage 
Line Openchat : #DEK65 PIM
Click : https://bit.ly/39PITi6