นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า

“มะขามเปรี้ยว” เป็นอีกหนึ่งสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากจะเป็นพืชทนแล้ง ให้ผลผลิตดก สามารถขายได้ทั้งฝักดิบและสุก รวมทั้งนำมาแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่ม มะขามคลุกน้ำตาล มะขามคลุกพริกเกลือ และมะขามกวน เพื่อเพิ่มมูลค่าและยืดอายุ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) ลง พื้นที่ติดตามสถานการณ์ผลิตมะขามเปรี้ยว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรขี้นาคแผนใหม่ ต.วังวาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ราย เนื้อที่ปลูก 1,012 ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 12,769 บาทต่อปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 30 ปี) เกษตรกรนิยมปลูกช่วงต้นฤดูฝน (พ.ค.-มิ.ย.) เนื่องจากต้นมะขามที่ยังเล็กจะได้รับน้ำฝน สามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเข้าถึงฤดูแล้ง และเก็บเกี่ยวช่วง ต.ค.-พ.ย.ของทุกปี ให้ผลผลิตรวมปีละ 3,013 ตัน เฉลี่ยไร่ละ 2,977 กก.ต่อปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 44,655 บาทต่อปี ได้กำไรเฉลี่ยไร่ละ 31,886 บาทต่อปี

คิดเป็นผลตอบ แทนของทั้งกลุ่มจะได้กำไรปีละ 32.2 ล้านบาท

ด้านการตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 จำหน่ายมะขามเปรี้ยวฝักดิบให้กับร้านค้าของสมาชิกกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่มในราคาเฉลี่ย กก.ละ 15 บาท

รองลงมาร้อยละ 20 จำหน่ายในรูปแบบมะขามฝักสุก (ขายทั้งฝักเหมือนมะขามหวานไม่แกะเม็ด) ในราคาเฉลี่ย กก. 23 บาท/กิโลกรัม (ราคา ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565) โดยมีพ่อค้าเป็นผู้รวบรวมเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา

ที่เหลืออีกร้อยละ 10 แปรรูปเป็นมะขามเปียก มะขามจี๊ดจ๊าด มะขามคลุกน้ำตาล มะขามคลุกบ๊วย และมะขามหยีปรุงรสต่างๆ จำหน่ายทั้งปลีกและส่งที่ร้านค้ากลุ่มและร้านขายของฝากในจังหวัด นอกจากนี้มีจำหน่ายออนไลน์ Facebook ภายใต้แบรนด์ “ภูขาม มะขามหล่มเก่า” และ “มะขามแช่อิ่มสด ปูรณ์กับปัน

...

สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดมะขามเปรี้ยว สามารถขอคำปรึกษา นางไพรัตร โสภาบุญ ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรขี้นาคแผนใหม่ ได้ที่โทร.08-9960-2052.

สะ–เล–เต