ไทยสามารถผลิตข้าวสาลีได้น้อยมาก ทั้งที่ผู้ประกอบการเห็นถึงความต้องการข้าวสาลีที่ปลูกในประเทศไทยเพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ มากถึงปีละ 382 ตันต่อปี

โดยแบ่งเป็นน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีปีละ 10 ตันต่อปี รำข้าวสาลี 144 ตัน ช่อข้าวสาลี 2 ตัน ผลิตภัณฑ์แป้งโม่ (Whole Grain) สำหรับทำขนมปัง 206 ตัน น้ำอาร์ซี 20 ตัน

นอกจากนี้ กลุ่มตลาดเฉพาะ อย่างผู้ประกอบการเบเกอรี ผู้ผลิตแป้งสาลีที่เน้นผลิตภัณฑ์อินทรีย์สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเมล็ดข้าวสาลีเพื่อใช้ในการผลิต wheat grass หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องการเมล็ดข้าวสาลีประเภท seed แม้แต่ในส่วนผู้ประกอบการธุรกิจดอกไม้ยังต้องการนำช่อข้าวสาลีมาใช้ในธุรกิจทำช่อดอกไม้ รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากฟาง นำมาทำหลอดดูด ใช้เป็นอาหารสัตว์ เพาะเห็ด ทำเครื่องจักสาน

กรมการข้าวเห็นเป็นโอกาสดีในการพัฒนาการผลิตข้าวสาลีในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลี ครั้งที่ 3 ขึ้นในวันที่ 15 ก.พ.นี้ ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง

เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย “การพัฒนา การผลิตธัญพืชเมืองหนาวเป็นพืชหลังนาเพื่อการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือตอนบน” ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปธัญพืชเมืองหนาวสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ตาม BCG model

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาว นิทรรศการด้านพันธุ์และแปลงแสดงพันธุ์ นิทรรศการด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน นิทรรศการด้านการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ และนิทรรศการด้านเครื่องจักรกลการเกษตร

...

ผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลี ครั้งที่ 3 ได้ที่ Facebook “ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง” และ Facebook “Rice News Channel” หรือสอบถามข้อมูลได้ที่โทร. 09-3312-1881.

สะ-เล-เต