หลังจากที่ โออาร์ ปล่อยภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “เพราะคุณค่าของชีวิต ไม่มีวันเกษียณ” เรื่องราวของชายวัยเกษียณคนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาในทุกวันพร้อมกับความรู้สึกว่างเปล่า และการค้นหาความหมายของชีวิตในช่วงวัยที่เปลี่ยนไป จนที่สุดก็ค้นพบคำตอบหนึ่งที่สร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้ ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ได้ก็กลายเป็นภาพยนตร์โฆษณาอีกชุดที่สามารถสัมผัสใจผู้คนได้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน จนมียอดการเข้าชมผ่าน YouTube Channel ของ OR Official ถึงกว่า 4 ล้านวิวภายในไม่กี่สัปดาห์ เป็นเรื่องน่าสนใจอย่างมากว่า นอกจากภาพยนตร์โฆษณาชิ้นนี้จะเข้าไปนั่งในใจผู้คนจำนวนมากได้แล้ว ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องทันยุคสมัยที่สุดเรื่องหนึ่งที่เราควรเอ่ยถึง

สังคมกำลังพยายามเรียนรู้เรื่องความแตกต่างแห่งวัย

วันนี้สังคมเต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายวัยมากขึ้น ทั้งยังแตกต่างอย่างกันมากตั้งแต่วิธีคิดไปจนถึงวิธีการใช้ชีวิต หลายครั้งความแตกต่างเหล่านี้ก็นำมาซึ่งความไม่เข้าใจ หรือแม้แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว สังคมการทำงาน หรือแม้แต่สังคมที่ใหญ่ขึ้นในระดับมหภาค แต่วันนี้สังคมก็กำลังพยายามเรียนรู้เรื่องความแตกต่างแห่งวัยเหล่านั้น ไม่ใช่เพื่อจะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะ หรือที่ยอมอ่อนข้อ แต่เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น บางเรื่องที่ช่วยกระตุ้นเตือนบางอย่าง ก็ทำให้หลายคนฉุกคิดบางสิ่งได้เช่นกัน

สังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aging Society) กำลังจะเป็นจริง

อีกไม่นานเกินรอ สังคมไทยก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aging Society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การเป็นสังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์ตามความหมายประชากรศาสตร์คือการมีอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น นั่นแปลว่า Aging Society หรือสังคมผู้สูงวัยแบบสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แต่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องหาทางออกเพื่อรับมือร่วมกัน การกระตุ้นเตือนผ่านการสื่อสารในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ทำให้สังคมตระหนักและพร้อมมือกับเรื่องนี้มากขึ้นได้

สังคมกำลังต้องการคนลงมือทำอย่างจริงจังมากขึ้น

หากมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์โฆษณา “เพราะคุณค่าของชีวิต ไม่มีวันเกษียณ” อย่างจริงจัง จะได้พบว่า นี่ไม่ใช่เพียงแค่ภาพยนตร์โฆษณาที่ร้อยเรียงเรื่องราวออกมากระตุ้นเตือนสังคม แต่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ โออาร์ และ Café Amazon ลงมือทำจริงจังด้วยความเชื่อที่ว่า คุณค่าของคนเราไม่ได้หยุดอยู่ที่คำว่าวัยเกษียณ โดยมอบโอกาสครั้งใหม่ให้กับผู้สูงวัยได้เข้ามาร่วมงานกับร้าน Café Amazon for Chance ซึ่ง ‘โอกาส’ นี้เป็นมากกว่าการมอบอาชีพ แต่หมายถึงการปลุกคุณค่าที่หลับใหลอยู่ในตัวผู้สูงวัยสักคนให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง และหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ของร้าน Café Amazon แล้วก็จะได้พบด้วยว่าปัจจุบันมีหลายสาขาที่มีบาริสต้าเป็นผู้สูงวัยทำงานอยู่จริงอย่างแข็งขัน เรื่องนี้จึงเป็นมากกว่าเรื่องทันสมัยเรื่องหนึ่งที่ควรเอ่ยถึง แต่เป็นเรื่องที่องค์กรอย่าง โออาร์ ลงมือทำจริง

เชื่อแน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เราซึ่งเป็นหนึ่งในสังคมจะเริ่มเอ่ยถึงคำว่า เกษียณ น้อยลงเรื่อย ๆ เพราะจะเริ่มมองเห็นและเข้าใจมากขึ้นด้วยว่า แท้จริงแล้วคนในทุกช่วงวัยก็มีสิทธิ์ค้นหาคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับตัวเองได้เสมอ และคำว่า เกษียณ ก็ไม่ควรมีไว้เพื่อปิดกั้นโอกาสใหม่ในการใช้ชีวิตเช่นกัน