สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้คนต่างระมัดระวังเกี่ยวกับ ความปลอดภัยต่อสุขภาพกันมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ในฐานะไทยเป็นประเทศส่งออกผักผลไม้หลายชนิดไปทั่วโลก
กระทรวงพาณิชย์จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย กำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามโครงการ “ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหาร ไทยปลอดการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” (Thailand Delivers with Safety)
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการผู้จัดส่งวัตถุดิบผักและผลไม้ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ให้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน อันประกอบไปด้วย 3 มาตรการหลัก
1.ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ/ภาชนะบรรจุ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดส่งผัก ผลไม้ ต้องควบคุมการเข้าออกสถานที่ จัดเก็บข้อมูลบุคลากร ทำความสะอาดรถขนส่ง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
2.การควบคุมกระบวนการผลิตที่เข้มงวด ต้องควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ แปรรูป บรรจุ ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล พนักงานต้องสวมผ้ากันเปื้อน ถุงมือ หน้ากาก ล้างมือขณะปฏิบัติงาน รวมถึงมาตรการในการขนส่ง การทำความสะอาด ฆ่าเชื้อในตู้คอนเทนเนอร์
3.การควบคุมสุขอนามัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน...สถานที่/อาคารผลิต ให้มีการควบคุมทางเข้าออก จัดสถานที่อาคารผลิต ห้องประชุม โรงอาหาร ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องสุขาให้เหมาะสม เพื่อลดความแออัด มีระบบระบายอากาศ และเครื่องกรองอากาศ ที่มีประสิทธิภาพสูงในอาคารผลิต
ระบบสุขาภิบาล จัดให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น ที่ล้างมือ สบู่เหลว น้ำยาฆ่าเชื้อโรค กระดาษเช็ดมือชนิดใช้แล้วทิ้ง ถังขยะที่มีฝาปิด และไม่ใช้มือสัมผัส การแสดงวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
...
การทำความสะอาด เคร่งครัดในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในอาคารผลิต เครื่องจักร พื้น ผนัง รวมทั้งพื้นที่ผิวจุดเสี่ยงที่มีการสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์โดยสาร เก้าอี้ โต๊ะกินข้าว
บุคลากร ให้มีมาตรการคัดกรองพนักงานก่อนเข้าสถานที่ทำงาน จัดเก็บข้อมูลเพื่อติดตามย้อนกลับ ขณะทำงานต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ใส่ถุงมือ รองเท้า ล้างมือ เว้นระยะห่าง
การอบรม ให้พนักงานมีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การคัดกรองวัดไข้ การสวมหน้ากาก การล้างมือ การเว้นระยะห่าง การทำความสะอาด และการลดความแออัด.
สะ–เล–เต