เลิกแล้ง เลิกจน โมเดล...เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ด้วยเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กรมทรัพยากรน้ำ หอการค้าแห่งประเทศไทย เอสซีจี เครือข่ายพันธมิตรเอกชน และชุมชน
มีหัวใจสำคัญ 6 ขั้นตอน...1.รู้รักสามัคคี พึ่งพาตนเอง ชาวบ้านต้องสามัคคีเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ปัญหาด้วยความรู้ คู่คุณธรรม
2.เรียนรู้จัดการน้ำ ด้วยเทคโนโลยี เรียนรู้การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ต้องเข้าใจสภาพพื้นที่ รู้ความต้องการใช้น้ำของตนเองและชุมชน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำแผนที่น้ำ ผังน้ำ วางแผนบริหารสมดุลน้ำ
3.หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น สร้างแหล่งกักเก็บน้ำ สำรองน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเกษตร ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ของชุมชน ใช้น้ำซ้ำให้คุ้มค่าด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน
4.ทำเกษตรผสมผสาน บริหารความเสี่ยง โดยปลูกพืชเพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อขาย สร้างรายได้ตลอดทั้งปี ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำเกษตรอัจฉริยะใช้เทคโนโลยี วางแผนเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อยในพื้นที่แล้ง
5.เข้าใจตลาด ตรงใจลูกค้า ปลูกพืชที่เป็นความต้องการของตลาด แปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการขายผ่านช่องทางตลาดที่เข้าถึงลูกค้า
6.เศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมกลุ่มชุมชนให้เข้มแข็ง จัดการผลผลิตเกษตร และการตลาด และการจัดการเงิน และสวัสดิการ
ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างดี จนสามารถพลิกชีวิตความเป็นอยู่ให้กับชาวบ้าน 60 ชุมชน และเครือข่ายอีก 1,773 หมู่บ้าน น้ำไม่แล้ง ไม่ท่วม คิดเป็นพื้นที่รวม 2.55 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำ 112 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มผลผลิตในฤดูแล้งได้ถึง 3,867 ล้านบาท.
...
สะ-เล-เต